กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
รู้จักกันก่อน
วิทยากร: ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
สังกัด: บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ความเชี่ยวชาญ: กลยุทธ์องค์กร การนำนวัตรกรรมเข้าสู่ตลาด การสื่อสารทางการตลาด และการเงินการเป็นผู้ประกอบการ
ประสบการณ์ทำงาน: มากกว่า 20 ปี ในหน่วยงานเอกชน หน่วยงานในกำกับของรัฐ และกรรมบริษัท
กิจกรรม:
2.กรุณาแนะนำตัวเอง โดยเริ่มจาก 1. ชื่อเล่น 2. หน่วยงาน 3. ความคาดหวังจากเนื้อหาบรรยาย
เป้าหมายของการพัฒนาแผนปฏิบัติราชการ (กลยุทธ์องค์กร) ระยะ XX ปี
เป้าหมายของแผนปฏิบัติราชการ (ระยะ XX ปี) เป็นการ 'พัฒนาความสามารถ' องค์กรในการตอบสนอง กฎหมายจัดตั้งขององค์กร ดังนั้นผลลัพธ์ของการวางแผนและดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการ (ระยะ XX ปี) จะทำให้องค์กรสามารถตอบสนองเป้าหมายเชิงยุทธ์ศาสตร์ และทหรือ ตอบสนองความคามหวังของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียตามอำนาจที่ได้รับจากกฎหมาย
โดยปรกติแล้วแผนปฏิบัติราชการ จะแบ่งเป็นรายปีและราย 3-5 ปี (เนื่องจากการสร้างความสามารถจำเป็นต้องใช้เวลาในการพัฒนาความสามารถเพิ่มเติม)
ข้อมูลประกอบ:
กลยุทธ์และการพัฒนาความสามารถในการขับเคลื่อนองค์กร
เป้าหมายของกลยุทธ์คือการ สร้างความสามารถองค์กร เพื่อบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ประเทศ (เช่น การสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ) ตัวอย่างของความสามารถจากการขับเคลื่อนเชิงกลยุทธ์ อันได้แก่
เพิ่มความยืดหยุ่นในการบริการประชาชน
เพิ่มการมีส่วนร่วมเพื่อลดปัญหาสังคม
ลดความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและประชาชน
ลดต้นทุนการให้บริการภาครัฐ
เพิ่มความเป็นธรรมจากการเพิ่มอำนาจทางกฏหมาย
ลดระยะเวลาการให้บริการ/การดำเนินการให้สอดคล้องตามตัวชี้วัดนานาชาติด้าน (ความได้เปรียบทางนวัตรกรรม ความได้เปรียบเชิงต้นทุนภาพรวม เพิ่มความมั่นใจต่อนักลงทุน ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อตกลงต่างๆ)
การที่สามารถทำได้ในมิติตัวอย่างเหล่านี้เรียกว่า 'ความสามารถในการดำเนินการเชิงกลยุทธ์' ประเด็นอยู่ที่ว่าการจะสร้างความสามารถได้นั้นต้องมีความชัดเจนว่าต้องไปทางไหนและไปอย่างไร เพราะทรัพยากรขององค์กรมีจำกัด ดังนั้นการจะเสริมสร้างความสามารถแข่งขันได้นั้นจำเป็นต้องมองว่าต้องไปทิศทางไหนและจะต้องเตรียมความสามารถตรงไหนในการแข่งขันนั้นคือความสัมพันธ์ระหว่าง 'กลยุทธ์และความสามารถในการแข่งขัน'
คิดร่วมกัน: หน่วยงานของท่านต้องสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ (หรือพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม หรือความมั่นคง) ในมิติใด
ระดับกลยุทธ์ (เอกชน กับ รัฐบาล)
กลยุทธ์องค์กรเอกชน
กลยุทธ์องค์กรมีหลายลำดับชั้น อันได้แก่ (1) กลยุทธ์ระดับองค์กร (2) กลยุทธ์ระดับธุรกิจ (3) กลยุทธ์ระดับปฎิบัติการ
กลยุทธ์ระดับองค์กร คือการมองภาพรวมเพื่อกำหนดเป้าหมายหลักขององค์กรและทิศทางในการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และพันธกิจ (Mission) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 รูปแบบด้วยกันได้แก่ การเน้นการเติบโต (จากการเพิ่มกลุ่มลูกค้า การเข้าซื้อกิจการ หรือการร่วมพันธมิตร) กลยุทธ์คงที่โดยการรักษามาตรฐานหรือผลการดำเนินการให้คงที่ หรือกลยุทธ์หดตัวที่อาจลดบทบาทบางกลุ่มธุรกิจลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
กลยุทธ์ระดับธุรกิจ การสร้างจุดแข็งทางการแข่งขันในธุรกิจเพื่อที่จะให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนได้ตามเป้าหมาย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่สำคัญเกี่ยวกับวิธีการเติบโต การสร้างธุรกิจหลักใหม่ การระบุเครื่องมือใหม่ของการทำงาน การจัดสรรทรัพยากรและการบรรลุประสิทธิภาพด้านต้นทุน โดยมากใช้กลยุทธ์ทั่วไปในการดำเนินการ เช่น รื่องต้นทุน เรื่องการสร้างความแตกต่าง การเลือกกลุ่มลูกค้า และการสร้างความคุ้มค่า โดยมิติเหล่านี้ถูกเอามาเป็นฐานตั้งคิดเชิงกลยุทธ์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
กลยุทธ์ระดับปฎิบัติการ การพัฒนาการทำงานของภายแผนกเพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของความเร็ว ประสิทธิภาพและการบริหารต้นทุน รวมไปถึงการระบุและจัดลำดับความสำคัญของการริเริ่มการปรับปรุงการดำเนินงาน เช่น กลยุทธ์การตลาด กลยุทธ์การเงิน กลยุทธ์ด้านบุคคล กลยุทธ์ด้านการผลิตและดำเนินการ
กลยุทธ์องค์กรภาครัฐ (แผนปฏิบัติราชการระยะ XXX)
สำหรับหน่วยงานของรัฐนั้นกลยุทธ์องค์กรมี 3 ระดับ อันได้แก่
แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (แผนระดับ 1)
แผนแม่บท แผนปฎิรูป แผนพัฒนาเศรษฐกิจ นโยบายและแผนระดับชาติ (แผนระดับ 2)
แผนปฏิบัติราชการ (แผนระดับ 3) และแผนปฎิบัติการ (สำนัก/กอง) พ.ศ. XXX
ยุทธศาสตร์ภาครัฐนั้นจะถูกเข้าใจในบริบทที่เรียกว่า 'แผน 3 ระดับ' และแผนยุทธศาสตร์องค์กรจะถูกเรียกว่า 'แผนปฎิบัติราชการ ระยะ X ปี พ.ศ. 25XX' โดยมีแผนปฏิบัติราชการ (รายปี) พ.ศ 25XX มาช่วยเป็นแนวทางขับเคลื่อน
หมายเหตุ การสรุปความเกี่ยวเนื่องของแผนยุทธศาสตร์แต่ละระดับจะเป็นการนำเอาตัวชี้วัดของแผนยุทธศาสตร์ของแต่ละระดับมาเป็นกรอบและตัวเชื่อมต่อของแผน ดังที่แสดงในแผนผังความเชื่อมโยงกลยุทธ์
กระบวนการพัฒนากลยุทธ์
กระบวนการในการพัฒนาแผนปฏิบัติราชการ (ระยะ XX ปี) สามารถแบ่งได้ออกเป็น 6 ส่วนได้แก่ (1) การเข้าใจตัวเอง และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (2) เป้าหมายองค์กร (3) แนวทางยุทธศาสตร์ (แผนปฏิบัติราชการ (ด้าน...)) และกลยุทธ์ (แนวทาง) (4) การเตรียมความพร้อม (5) การถ่ายทอดแผนไปสู่ปฏิบัติ และ (6) การประเมินผลสำริด
(1) การเข้าใจตัวเอง และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐาน 9 ด้าน ดังนี้
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
โมเดลธุรกิจปัจจุบัน
ความสามารถปัจจุบัน
ทรัพยากรและความสามารถในการใช้ทรัพยากร
การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก
การประเมินความเสี่ยง
ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย (ประชาชน พนักงาน บอร์ด หน่วยงานเกี่ยวข้อง และนโยบาย)
ปัจจัยความสำเร็จเชิงเปรียบเทียบ และ
ผลการดำเนินการในอดีต (เช่น จากรายงาน PMQA)
กรอบยุทธศาสตร์ที่องค์กรเข้าไปเกี่ยวข้อง
แนวทางความยั่งยืนที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้อง
(2) เป้าหมายองค์กร
เป็นการระบุถึงเป้าหมายของแผนกลยุทธ (พร้อมตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย) ที่จะสร้างความสามารถองค์กร ตอบสนองพันธกิจ และวิสัยทัศน์ โดยจัดเรียงความสำคัญในการดำเนินการเชิงยุทธศาสตร์ ทั้งนี้เป้าหมายเชิงกลยุทธ์จะต้องสามารถยกระดับความสามารถในการขับเคลื่อนขององค์กร
(3) ยุทธศาสตร์ (แผนปฏิบัติราชการ (ด้าน...)) กลยุทธ์ (แนวทางพัฒนา) และโครงการ
จากการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอ้างอิงหรือมาตรฐานระดับนานาชาติ และสังเคราะห์ออกมาเป็นประเด็นก่อนนำประเด็นมาสังเคราะห์และจัดกลุ่มประเด็น ก่อนที่จะมาระบุยุทธศาสตร์หรือแผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ X ..., X2, X3, X4 พร้อมตัวชี้วัด
ระบุแนวทางพัฒนา (กลยุทธ์) และการพัฒนาโครงการที่จะขับเคลื่อนผ่านโครงสร้างและหน่วยงานในหน้าที่
พัฒนาตัวชี้วัดภาพรวม รายยุทธศาสตร์ รายแนวทาง และรายโครงการ ก่อนแจกแจงไปสู่หน่วยงานต่างๆ
(4) การเตรียมความพร้อม
การเตรียมความพร้อมพิจารณาในมิติของนโยบาย โครงสร้างองค์กรและโครงสร้างการตัดสินใจ (หรือระเบียบที่ต้องพิจารณา) บุคคล และทรัพยากร
(5) การถ่ายทอดแผนไปสู่ปฏิบัติ
พัฒนาแผนหน่วยงาน (ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์ และ/หรือ เป้าหมายระยะ 5 ปีหรือ 3 ปี) และออกมาเป็นแผนปฏิบัติราชการ ระยะ 1 ปี รายหน่วยงาน
การพัฒนาและการดำเนินการโครงการ (ซึ่งจะอ้างอิงจากแผนหน่วยงาน)
พัฒนาแผนจัดการการเปลี่ยนแปลง
(6) การประเมินผลสำริด
การวัดผลจะวัดจากระดับโครงการ ระดับกลยุทธ์ และระดับเป้าหมาย
ส่วนที่ 1.1. การเข้าใจตนเอง
เจตนารมณ์ของกฎหมายจัดตั้ง
เจตนารมณ์ของกฎหมายในการจัดตั้งองค์กรมีความสำคัญในการสร้างความเข้าใจเป้าหมายขององค์กรต่อ 'สังคมและประเทศ' ดังนั้นการเข้าใจเจตนารมณ์ขององค์กรมีความสำคัญในการเข้าใจภารกิจ พันธกิจ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย และเป้าหมายขององค์กร รวมทั้งการทราบถึงคุณค่าขององค์กรที่มีอยู่ในสังคมหรือประเทศ
กิจกรรม: หาข้อมูลกฎหมายจัดตั้งและระบุเจตนารมณ์ของกฎกหมายจัดตั้ง
วิสัยทัศน์องค์กร: สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต
พันธกิจ:
ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการอุดมศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยมีความเป็นอิสระทางวิชาการและการบริหารจัดการ ให้มีการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ และให้ดำเนินการวิจัยและสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสหวิทยาการ
ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมของสถาบันอุดมศึกษา และหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่อยู่ในสังกัดกระทรวงหรือกำกับดูแลของรัฐมนตรี รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานในระบบวิจัยและนวัตกรรมที่อยู่นอกกระทรวงเพื่อให้เกิดความร่วมมือ และดำเนินการไปในทิศทางที่มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ
จัดให้มีระบบนิเวศและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทาง และความร่วมมือในด้านการวิจัยและการสร้างสรรค์นวัตกรรมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบุคคลหรือหน่วยงานในต่างประเทศ
ปฏิบัติการอื่นที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของกระทรวง
หมายเหตุ: ในการดำเนินการตาม (3) กระทรวงอาจมอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดหรือในกำกับเป็นผู้ดำเนินการ หรืออาจร่วมดำเนินการกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานเอกชนหรือต่างประเทศก็ได้
ค่านิยมหลัก:
?
?
?
จากข้อมูลด้านวิสัยทัศน์องค์กร พันธกิจ ค่านิยม และผลประกอบการคุณคิดว่า บริษัท ควรเน้นสร้างความสามารถในการแข่งขันในด้านใด? (คลิกที่นี่เพื่อตอบ)
กิจกรรม: แผนปฏิบัติราชการอยู่ระดับไหน และมีตัวชี้วัดใดที่เกี่ยวข้องก่อนหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม คลิกที่นี่เพื่อเข้าดูแผนปฏิบัติการระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570)) หน้าที่ 8 - 49
ผู้มีส่วนได้เสีย
ผู้มีส่วนได้เสียขององค์กร ("ผู้ที่สร้างผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากองค์กร") มีทั้ง ประชาชน ผู้ตรวจ พนักงานในองค์กร ผู้บริหารองค์กร ตัวแทนองค์กร ผู้เข้ามาทำธุรกรรมกับองค์กร และผู้มีที่อิทธิพลต่อการตัดสินใจและการดำเนินการองค์กรอื่น
การเก็บข้อมูลของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียสำคัญกับการพิเคราะห์ถึงความต้องการและความคาดหวังจะเกี่ยวข้องกับแนวทางเชิงกลยุทธ์และแนวทางเชิงปฏิบัติ (และสิ่งที่ต้องดำเนินการสอดคล้อง) การที่ต้องมีการพัฒนาอย่างไรเพื่อสามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หลายหน่วยงานจะเก็บข้อมูลความพึงพอใจ) หลายองค์กรนำตัวชี้วัดนานาชาติที่เป็นส่วนสะท้อนของผู้มีส่วนได้เสียนานาชาติมาใช้ เช่น IMD
กิจกรรม: นำข้อมูลการเก็บข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียเข้ามาวิเคราะห์ความต้องการ (จงระบุว่าผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มมีความต้องการหรือสะท้อนข้อมูลใดบ้าง) | ทางไปตอบ
วันนี้องค์กรของเราส่งมอบคุณค่าอะไรให้ผู้มีส่วนได้เสีย? (โมเดลการดำเนินการองค์กรกับการจัดการกลยุทธ์)
โมเดลการดำเนินการองค์กรหรือ 'องค์กรของท่านถูกตั้งขึ้นตามกฎหมายเพื่อวัตถุประสงค์ใด กลุ่มผู้มีส่วยได้เสียใด และมีกลไกเพื่อตอบวัตถุประสงค์นั้นอย่างไร?'
แนวทางการคิดนั้นเริ่มพิเคราะห์ถึง
ความต้องการ 'กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย' ที่กฎหมายจัดตั้งให้อำนาจในการดูแล
พิเคราะห์ถึง 'คุณค่าที่องค์กรส่งมอบให้กับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย'
วิเคราะห์และระบุ 'กิจกรรม' และ 'ทรัพยากร' ในการขับเคลื่อนกิจกรรม (หรือโครงการ) ในการเตรียมส่งมอบคุณค่าให้ดับผู้มีส่วนได้เสีย (ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการกิจกรรมหรือโครงการได้ด้วยตัวเอง จะเป็นต้องระบุถึง 'คู่ค้า ที่จะช่วยในคุณค่าถูกสร้างและเตรียมส่งมอบได้')
ในการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มรีส่วนได้เสีย จะเกิดจาก 'แนวทางการสร้างความสัมพันธ์' และ 'ช่องทางในการส่งมอบคุณค่าให้แก่กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียเป้าหมาย
แนวทางการสร้างความสัมพันธ์จะแบ่งออกเป็นส่วนๆ ดังนี้
การเปลี่ยนจากคนที่ไม่รู้จัก > คนที่รู้จัก
คนที่รู้จัก > คนที่เข้ามาเยี่ยมชม (หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม)
คนที่เข้ามาเยี่ยมชม (หรือหาข้อมูลเพิ่มเติม) > ผู้ที่มีความตั้งใจซื้อ
ผู้ที่มีความตั้งใจซื้อ > ให้มาสอบถาม (หรือการปิดความสงสัยหรือความกังวล) > ตัดสินใจซื้อ (ครั้งแรก)
ผู้ตัดสินใจซื้อ (ครั้งแรก) > ผู้ใช้บริการซ้ำ ผู้ใช้บริการเพิ่ม บอกต่อ ชวนมาใช้บริการ
ช่องทางในการส่งมอบคุณค่า คือ สถานที่หรือพื้่นที่ในการให้บริการ (ทั้งเชิงกายภาพและเชิงดิจิทัล) เช่น สำนักงาน ระบบการให้บริการ
โครงสร้างต้นทุนจะมาจาก ค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมสำคัญ การเสาะหาและการใช้งานทรัพยากร ค่าใช้จ่ายด้านการพัฒนาและใช้งานเครือข่าย รวมถึง ต้นทุนการเข้าถึงลูกค้า (การสร้างความสัมพันธ์และการพัฒนาช่องทางการตลาด)
โครงสร้างรายได้มาจาก (1) งบประมาณ หรือ (2) เงินนอกงบประมาณ เช่น ค่าธรรมเนียม
กิจกรรม: การพัฒนาโมเดลการดำเนินการของกระทรวง
ตัวต้นแบบโมเดลการดำเนินการของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
ร่วมพัฒนา 'โมเดลการดำเนินการองค์กร' โดยเน้นให้มีการระบุและตรวจสอบ (1) คุณค่าที่บริษัทส่งมอบให้ลูกค้า (2) กลุ่มลูกค้า (3) แนวทางในการเข้าถึงและพัฒนาความสัมพันธ์กับลูกค้า (4) กิจกรรมหลักที่ดำเนินการในการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า (5) ทรัพยากรที่ต้องมีเพื่อดำเนินกิจกรรมส่งมอบคุณค่าให้ลุกค้า (6) กลุ่มคู้ค้าหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สนับสนุนกิจกรรมและการส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้า (7) โครงสร้างต้นทุนหลักที่ใช้ในการส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า (8) โครงสร้างรายได้
** คำว่าทรัพยากรสำหรับการจัดการกลยุทธ์นั้นหมายถึง 'ความสามารถในการใช้ทรัพยากรเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน' อันประกอบไปด้วย ทรัพยากร + ความสามารถในการใช้ทรัพยากร
จากกิจกรรม โมเดลธุรกิจขององค์กรเป็นเช่นไร?
การวิเคราะห์ทรัพยากรภายในองค์กร
ทรัพยากรขององค์กรเป็นเครื่องมือที่จะประเมินความสามารถในด้านของความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ขององค์กร ทรัพยากรขององค์กรประกอบด้วยทรัพยากรที่จับต้องได้และทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ ดังนี้
ทรัพยากรที่องค์กรมีทุกอันไม่ได้เป็นทรัพยากร 'สำคัญ' ขององค์กร เนื่องจากทรัพยากรที่สำคัญขององค์กรจะเป็นทรัพยากรที่ทำให้เกิดความสามารถในการดำเนินการขององค์กร และเป็นทรัพยากรที่ช่วยส่งมอบคุณค่าแก่ประชาชนหรือผู้รับบริการและสร้างความยั่งยืนแก่องค์กร ซึ่งแนวทางในการวิเคราะห์ทรัพยากรสำคัญสามารถพิจารณาได้ ดังนี้
กฎหมายที่ให้อำนาจแก่องค์กรในการดำเนินการและนักกฎหมายในองค์กรอาจเป็นทรัพยากรที่จับต้องไม่ได้ขององค์กร แต่รายละเอียดในกฎหมายบางส่วนอาจเป็นส่วนที่ทำให้องค์กรไม่สามารถช่วยเหลือหรือเป็นอุปสรรคประชาชนหรือให้บริการแก่ผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กิจกรรม: ลองพิเคราะห์พันธกิจเปรียบเทียบกับทรัพยากรและความสามารถสำคัญที่จะส่งผลต่อะการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย | ทางไปทำกิจกรรม
กรอบคุณภาพการให้บริการ
กรอบคุณภาพการให้บริการเป็นกรอบสำคัญในการเก็บข้อมูลผู้มีส่วนได้เสีย สามารถพัฒนาได้จากกรอบแนวคิดคุณภาพของบริการโดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
บริการที่จับต้องได้ (Tangibility) เช่น ความทันสมัยของแพลตฟอร์มดิจิทัลของกระทรวง (เช่น ระบบยื่นขอทุน ฐานข้อมูลวิจัย) การออกแบบเว็บไซต์ เอกสารเผยแพร่ การจัดงาน และภาพลักษณ์องค์กร
ความน่าเชื่อถือ (Reliability) เช่น การจัดสรรทุนวิจัยที่ตรงเวลา ความสม่ำเสมอในการดำเนินนโยบาย ความถูกต้องของข้อมูลรายงาน (เช่น ตัวชี้วัดวิจัย การจัดอันดับสถาบัน)
การตอบสนองของพนักงาน (Responsiveness) เช่น ระยะเวลาและความชัดเจนในการตอบคำถามจากมหาวิทยาลัย นักวิจัย และนักศึกษา การปรับนโยบายให้สอดรับกับสถานการณ์ (เช่น การแพร่ระบาด COVID-19 หรือการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล)
การเอาใจใส่/ความเข้าใจ (Emphathy) เช่น การใส่ใจต่อความต้องการ การสนับสนุนเฉพาะกลุ่ม เช่น มหาวิทยาลัยในภูมิภาค นักวิจัยรุ่นใหม่ การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดนโยบาย (เช่น การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น)
ความไว้วางใจ (Assurance) เช่น ความเชี่ยวชาญของเจ้าหน้าที่กระทรวง ความโปร่งใสในกระบวนการคัดเลือก (เช่น ทุนการศึกษา ทุนวิจัย) ความเชื่อมั่นในระบบจริยธรรมการวิจัยและแนวทางนโยบาย ความปลอดภัยข้อมูล
คิดร่วมกัน: คุณเคยใช้กรอบแนวคิดนี้ในการพัฒนาความพึงพอใจของกลุ่มผู้รับบริการหรือไม่?
ห่วงโซ่คุณค่า/การเชื่อมโยงของกระบวนการที่สร้างคุณค่าให้ประชาชนหรือผู้รับบริการ
ห่วงโซ่คุณค่า เป็นการออกแบบกิจกรรมภายในองค์กรเพื่อส่งมอบคุณค่าให้กับลูกค้าที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร โดยเป้าหมายในการออกแบบนี้เพื่อให้เห็นถึงการสร้างคุณค่าของสินค้ามากกว่าต้นทุนการดำเนินการ และแนวทางในการจัดการต้นทุนเพื่อให้สินค้าหรือบริการมีมูลค่าสูงขึ้นภายใต้เงื่อนไขของ 'การส่งมอบคุณค่าที่เหมาะสมแกลูกค้า' ห่วงโซ่คุณค่าแบ่งออกเป็น สามส่วนได้แก่ กิจกรรมหลัก กิจกรรมสนับสนุน และมูลค่าเพิ่ม โดยสามารถอธิบายองค์ประกอบได้ดังนี้
กิจกรรมขาเข้า เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมปัจจัยนำเข้าในการผลิตหรือดำเนินการ ซึ่งได้แก่ การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การรับสินค้าเข้า การจัดเก็บวัตถุดิบ และจัดการพื้นที่เก็บวัตถุดิบ การถือครองสินค้า การจัดการตารางวัตถุดิบเข้า รวมถึงการตีกลับหรือติดตามวัตถุดิบคงค้างการจัดส่งหรือส่งคืน
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การรวบรวมข้อมูลด้านการวิจัย ความต้องการเชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะจากมหาวิทยาลัย นักวิจัย และภาคอุตสาหกรรม เพื่อใช้ในการจัดทำนโยบายและจัดสรรงบประมาณ
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
การปฏิบัติการ เป็นกระบวนการในการแปลงวัตถุดิบให้เป็นสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับการวางแผนการผลิต การขึ้นสานการผลิน การตรวจสอบคุณภาพ การจัดการอุปกรณ์การผลิต และการซ่อมบำรุงสายการผลิต รวมถึงกิจกรรมด้านการเก็บข้อมูลเพื่อการคิดตามหรือตรวจสอบย้อนกลับ
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การพัฒนานโยบาย กำหนดยุทธศาสตร์ R&D แห่งชาติ การบริหารทุนวิจัยและทุนการศึกษา การจัดทำกรอบกำกับดูแล และการออกแบบระบบนวัตกรรม
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
กิจกรรมเตียมนำออก เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดเก็บสินค้าสำเร็จ การเคลื่อนที่ของสินค้าในพื้นที่เก็บ การบรรจุหีบห่อเพื่อการขนส่ง การเตรียมการนำสินค้าขึ้นเพื่อจัดส่ง การวางแผนพื้นที่กระจายสินค้าและศูนย์กระจายสินค้า การขนส่ง และการจัดการคำสั่งซื้อลูกค้า
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การส่งมอบบริการ เช่น การเบิกจ่ายทุนวิจัย การออกระเบียบและนโยบาย การเผยแพร่ผลงานวิจัย และการดำเนินการปฏิรูปการอุดมศึกษา
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
การตลาดและการขาย เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริทให้กลุ่มเป้าหมายทางการตลาดรู้จัก สร้างความต้องการสินค้า นำสินค้าให้เข้าถึงลูกค้า และการกำหนดคุณค่าของสินค้าบริการในรูปแบบของราคา รวมถึงการรับคำสั่งซื้อและการจัดการคำสั่งซื้อ และการประสานงานด้านการผลิตและดำเนินการ
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การสร้างการรับรู้และความร่วมมือผ่านกิจกรรมประชาสัมพันธ์ นิทรรศการวิชาการ โครงการทุนการศึกษา และการเป็นพันธมิตรกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
การให้บริการ เป็นกิจกรรมสำคัญที่ส่งผลต่อการตัดสินใจและเพิ่มมูลค่าให้กับลูกค้า เช่น การสนับสนุนการขาย ด้านการอบรมการใช้งาน การซ่อมบำรุง การอบรมลูกค้า การปรับแต่งสินค้า และการจัดเก็บส่วนประกอบสินค้าสำหรับการบริการ (ส่วนของการรับประกัน)
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การติดตามและประเมินผล (M&E) รายงานผลกระทบจากงานวิจัย และการสนับสนุนการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของระบบอุดมศึกษาและนวัตกรรม
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
การจัดซื้อจัดหา เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหา วัตถุดิบ อุปกรณ์ สินค้าสิ้นเปลืองต่าง (ในส่วนนี้จะสนับสนุนทั้งองค์กรไม่เฉพาะกับการจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบสำหรับการผลิตเท่านั้น)
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การจัดซื้อจัดจ้างเชิงกลยุทธ์ เช่น ระบบเทคโนโลยี เครื่องมือวิจัย และการบริหารจัดสรรงบประมาณวิจัยอย่างโปร่งใส
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
การพัฒนาเทคโนโลยี เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การพัฒนา และเทคโนโลยรที่เกี่ยวกับการพัฒนา 'สินค้า' และ 'กระบวนการ' ในองค์กร
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานการวิจัย ห้องปฏิบัติการนวัตกรรม การพัฒนาแพลตฟอร์ม R&D และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลในอุดมศึกษา
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
การจัดการบุคคลากร เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระบุสมรรถนะ การจัดหาพนักงาน การเลิกจ้าง การพัฒนาพนักงาน และการจ่ายค่าตอบแทน หลายองค์กรจำเป็นต้องมีการจัดหาหนักงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความได้เปรียบองค์กรในมิติต่างๆ
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: การพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกระทรวง การอบรมเจ้าหน้าที่มหาวิทยาลัย และการส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
กิจกรรมพื้นฐานองค์กร ประกอบด้วยกิจกรรมด้านการวางแผน การวางกลยุทธ์ การเงิน บัญชี กฎหมาย และการตรวจสอบ
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง: โครงสร้างพื้นฐานด้านกฎหมาย องค์กร ระบบกำกับดูแล และระบบดิจิทัลของกระทรวง อว.
สำหรับหน่วยงานท่านคือ '__________________'
หน่วยงานของท่านมีข้อจำกัดหรือข้อกังวลใดในกิจกรรมนี้ '__________________'
ความเชื่อมโยงของกิจกรรมนี้กับกิจกรรมอื่นในหน่วยงานท่าน (หรือระหว่างหน่วยงานท่านกับหน่วยงานอื่น) ที่มีข้อจำกัดหรือมีความกังวล '__________________'
ห่วงโซ่คุณค่าขององค์กรท่าน โดยเฉพาะส่วนที่เชื่อมโยงระหว่างกิจกรรมมีปัญหาใดๆ หรือไม่? จากผลการประเมินคุณภาพคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ คุณมองว่าในสายงานของท่านในอุดมคติต้องปรับตรงไหน? และคุณคิดว่ากลยุทธ์ที่เปลี่ยนไปจะต้องมีการปรับมิติต่างๆ ในห่วงโซ่อุปทานหรือไม่?
คิดร่วมกัน: จงนำข้อมูล 'เก็บข้อมูลภายใน' มาระบุปัญหาเกี่ยวข้องกับกระบวนการภายใน
วิธีปฏิบัติที่ดี (ในประเทศและต่างประเทศ)
การดำเนินการดีควรมีตัวอ้างอิงที่มีแนวทางปฏิบัติที่ดี ซึ่ง ณ ปัจจุบันหน่วยงานต่างๆ น่าจะมีการประชุมระดับนานาชาติว่าด้วยการดำเนินการขององค์กรของท่าน ซึ่งการมีการประสานเพื่อขอเป็นพี่เลี้ยง หรือการมีมาตรฐานร่วมของสายงาน เป็นกรอบข้อมูลที่สามารถนำมาใช้เพื่อระบุ 'โอกาส' ในการพัฒนา
หากเป็นวิธีปฏิบัติที่ดีในประเทศ อาจจะเป็นการแบ่งกลุ่มกระบวนการ โครงการ หรือกิจกรรมย่อยที่ดี เพื่อจะนำมาประยุกต์และสร้างคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียได้
ตัวอย่าง:
สิงคโปร์ – กระทรวงศึกษาธิการ (MOE) + A*STAR (หน่วยงานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) เป็นต้นแบบด้านการพัฒนากำลังคนด้าน STEM และการกำหนดนโยบายเชิงกลยุทธ์ในระดับชาติ
ฟินแลนด์ – กระทรวงศึกษาธิการและวัฒนธรรม + Business Finland เหมาะสำหรับเป็นต้นแบบด้านการเชื่อมโยงมหาวิทยาลัยกับภาคอุตสาหกรรม และการสนับสนุนระบบนิเวศนวัตกรรม
เกาหลีใต้ – กระทรวงวิทยาศาสตร์และ ICT (MSIT) + National Research Foundation (NRF) เหมาะสำหรับการเรียนรู้เรื่องกลยุทธ์ R&D แห่งชาติ ระบบประเมินผล และการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล
เยอรมนี – กระทรวงศึกษาธิการและการวิจัย (BMBF) เป็นต้นแบบในการสนับสนุนงานวิจัยประยุกต์ และการสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่างประเทศ
ญี่ปุ่น – กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (MEXT) เหมาะสำหรับการเรียนรู้การบูรณาการนโยบาย การวางแผนอนาคตของ R&D และการสื่อสารวิทยาศาสตร์
คิดร่วมกัน: หน่วยงานใดในประเทศและต่างประเทศที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กรอ้างอิง?
ส่วนที่ 1.2. การเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในการดำเนินการ
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม
การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมจะทำให้เห็นว่าสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร (ทั้งการเปลี่ยนแปลงผลกระทบต่อองค์กร (การใช้ทรัพยากร) และการส่งมอบคุณค่าให้แก่ประชาชนหรือผู้รับบริการ) รวมถึงการตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ระดับ 1 ที่องค์กรจะสามารถสนับสนุนได้ การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกประกอบด้วย
การเปลี่ยนแปลงของนโยบายทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลต่อนโยบายภาครัฐ และผู้กำกับดูและกรระทรวง ทบวง กรม ซึ่งการวิเคราะห์ถึงนโยบายจะทำให้ทราบถึงการเข้าถึงทรัพยากรและสนับสนุนต่อการบรรลุผลของนโยบาย ดังนั้นนโยบายของรัฐและเจ้ากระทรวงจะมีบทบาทสำคัญต่อการตอบสนองทั้งในด้านของโอกาสและภัยคุกคามต่อองค์กรและการให้บริการต่อประชาชนหรือผู้รับบริการ
นอกเหนือจากนั้นการเมืองระหว่างประเทศก็จะนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงนโยบายระดับประเทศทั้งด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เช่น ผลกระทบของการเมืองระหว่างประเทศในส่วนของประเทศตะวันตก กับตะวันออกกลาง จีน และรัสเซีย ซึ่งส่งผลต่อการมีสินค้า ราคาสินค้า โอกาสการส่งออก การกำหนดงบประมาณป้องกันประเทศ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจหมายถึงการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของ 'กำลังซื้อ' ภาคประชาชน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นมาจากการ ลงทุนของเอกชน การลงทุนของรัฐ (การส่งออกสินค้าหรือบริการ - การนำเข้าสินค้าหรือบริการ) ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นหรือลงลงของค่าจ้าง ค่าแรง ดอกเบี้ยรับ ปันผล/กำไร ทั้งนี้ปัจจัยที่จะมีผลได้แก่ ดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยน การอุดหนุนของรัฐ ภาวะเงินเฟ้อ การลงทุนจากต่างประเทศทั้งภายในและภายนอก นโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ โครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ และภาวะเศรษฐกิจระดับโลก
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสังคม การเปลี่ยนแปลงของสังคมด้านพฤติกรรม ค่านิยม ประเพณี วัฒนธรรม ภาษา และรวมถึงทัศนคติต่อสถาบันทางสังคม การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรหรือการบริการขององค์กร หรือแม้แต่การพัฒนาเปลี่ยนแปลงด้านขอบข่าย อำนาจหน้าที่ในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น การที่มีการใช้กระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกมากขึ้น ซึ่งอาำนาจกฎหมายไปไม่ถึงทำให้ต้องมีการพัฒนาองค์กร รวมถึงขอบเขตอำนาจในการเข้าถึงด้วย
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม ความคาดหวังต่อระดับการให้บริการของประชาชนและผู้รับบริการ และกฎหมายที่เข้าถึงการกำกับดูแล หรือแม้แต่การนำเสนอบริการใหม่ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบองคืกรเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย การเปลี่ยนแปลงของกฎหมายส่งผลต่อการจัดการทรัพยากรภายใน ต้นทุนการดำเนินการ การจัดการกระบวนการ การปรับโครงสร้างองค์กร การรายงานและการควบคุม รวมถึงข้อจำกัดการดำเนินการขององค์กร ยกตัวอย่างเช่น การออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายที่ให้หน่วยนงานของรัฐให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง และกฎหมายว่าด้วยการทำงานที่บ้านของประชาชนและข้าราชการ
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการให้การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อการดำเนินการขององค์กร องค์กรของรัฐหลายหน่วยงานเช่น กรมชลประทาน กรมป่าไม้ จำเป็นต้องมียการวิเคราะห์เพื่อวางยุทธศาสตร์ หากแต่องค์กรอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงอาจจะเกี่ยวข้องทางอ้อม เช่น กรมบังคับคดี อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่นำมาสู่จำนวนสำนวนบังคับคดี (เนื่องจากเกษตรกรได้รับกระทบจากภาวะแล้งทำให้ต้องมีหนี้และไม่สามารถคืนไนี้ได้ หรือผู้ประกอบการบางคนได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบสินค้าเกษตรทำให้การดำเนินธุรกิจมีปัญหามากขึ้นและนำมาซึ่งการบังคับคดี)
กิจกรรม: ลองพิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่จะส่งผลต่อองค์กรและการส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสีย | ทางไปทำกิจกรรม
ความยั่งยืน
ความยั่งยืนขององค์กรในบริษทของยุทธ์สาสตร์ของประเทศจะเดี่ยวพันธ์กับกรอบเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนขององค์กรสหประชาชาติ (UN Sustainability and disability) ซึ่งจะนำไปสู่กรอบชี้วัดนานาชาติที่เกี่ยวข้องกับการชีวัดและพัฒนาขององค์กร
สำหรับกระกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แนวทางการพัฒนาความยั่งยืน เน้น 5 ด้าน อันได้แก่
เป้าหมายที่ 2 (Goal 2) ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการ และส่งเสริมเกษตรยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 2.5 (Target 2.5) คงความหลากหลายทางพันธุกรรมของเมล็ดพันธุ์พืชที่ใช้เพาะปลูก สัตว์ในไร่นาและที่เลี้ยงตามบ้านเรือน และชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับพืชและสัตว์ เหล่านั้น รวมถึงให้มีธนาคารพืชและเมล็ดพันธุ์ที่มีการจัดการที่ดีและมีความหลากหลาย ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ และสร้างหลักประกันว่าจะมีการเข้าถึงและแบ่งปันผลประโยชน์อันเกิดจากการใช้ทรัพยากรทางพันธุกรรมและองค์ความรู้ท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมตามที่ตกลงกันระหว่างประเทศ ภายในปี พ.ศ. 2563
เป้าหมายที่ 4 (Goal 4) สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าหมายย่อย 4.3 (Target 4.3) สร้างหลักประกันให้ชายและหญิงทุกคนเข้าถึงการศึกษา อาชีวศึกษา อุดมศึกษารวมถึงมหาวิทยาลัยที่มีคุณภาพ ในราคาที่สามารถจ่ายได้ ภายในปี พ.ศ. 2573
เป้าหมายที่ 9 (Goal 9) สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม
เป้าหมายย่อย 9.5 (Target 9.5) เพิ่มพูนการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมในทุกประเทศ โดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา และให้ภายในปี พ.ศ. 2573 มีการส่งเสริมนวัตกรรมและให้เพิ่มจำนวนผู้ทำงานวิจัยและพัฒนาต่อประชากร 1 ล้านคน และเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาในภาครัฐและเอกชน
เป้าหมายย่อย 9.b (Target 9.b) สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมภายในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการให้มีสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่นำไปสู่ความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์
เป้าหมายที่ 12 (Goal 12) สร้างหลักประกันให้มีแบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 12.a (Target 12.a) สนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการเสริมความแข็งแกร่งของขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่จะขับเคลื่อนไปสู่แบบแผนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนยิ่งขึ้น
เป้าหมายที่ 17 (Goal 17) เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลก เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป้าหมายย่อย 17.7 (Target 17.7) ส่งเสริมการพัฒนา การถ่ายทอด และการเผยแพร่เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้กับประเทศกำลังพัฒนาภายใต้เงื่อนไขที่อำนวยประโยชน์แก่ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งตามเงื่อนไขสิทธิพิเศษตามที่ตกลงร่วมกัน
คิดร่วมกัน: กรอบความยั่งยืนใดที่หน่วยงานของท่านให้ความสำคัญ และมีกรอบนานาชาติใดที่ใช้เป็นตัวชี้วัดความก้าวหน้าของความยั่งยืนที่องค์กรจะช่วยสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ส่วนที่ 2.เป้าหมายองค์กร (ความสามารถที่ต้องการ)
กิจกรรม: ลองดูเป้าประสงค์ (รวม) ของหน่วยงานท่านและตอบว่าองค์กรของท่านเน้นด้านใดบ้าง? (ดูในแผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี) | คลิกที่นี่เพื่อตอบ
เป้าหมายองค์กร
ก่อนพัฒนายุทธศาสตร์และกลยุทธ์นั้น องค์กรจำเป็นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนเพื่อให้สามารถวิเคราะห์แนวทางการบรรลุเป้าหมาย ผ่านยุทธศาสตร์ (แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ ...) แนวทางการดำเนินการ (กลยุทธ์) และแผนงานหรือโครงการ ทั้งนี้ผลลัพธ์คือต้องให้บรรลุผลด้านการส่งเสริมความสามารถ หรือผลสำริดจากความสามารถ)
เป้าหมายที่องค์กรตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องบรรลุ เนื่องจากว่าการที่ไม่บรรลุเป้าหมายอาจจะส่งผลลัพธ์ต่อ 1. การอยู่รอดขององค์กร 2. การสูญเสียโอกาสขององค์กร ประทศ และผู้มีส่วนได้เสีย หรือ 3. อาจจะทำให้ไม่สามารถตอบเจตนารมณ์ของกฎหมายจัดตั้งหรือตอบสนองผู้มีส่วนได้เสียได้
แหล่งที่มาของข้อมูลในการคิดวิเคราะห์เป้าหมาย
เจตนารมณ์ทางกฎหมาย
วิสัยทัศน์
พันธกิจ
วิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย
การเปลี่ยนแปลงนโยบายของรัฐและสภาพแวกล้อมภายนอก
นโยบายรัฐมนตรี อธิบดี หรือเลขาธิการ
คู่เทียบที่สำคัญ
ตัวชี้วัดจากแผนระดับ 1 ระดับ 2 หรือระดับ 3 (หากเป็นหน่วยงานระดับกรม กอง หรือสำนักงาน)
กรอบความร่วมมือหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ
ผลการเก็บข้อมูลการดำเนินการภายใน ผลการประเมินและตรวจสอบภายใน และผลการประเมินจากหน่วยงานอื่น
ตัวอย่างเป้าหมายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ด้านผลสำริด อันได้แก่
คนไทยมีสมรรถนะและทักษะสูง เพียงพอในการพลิกโฉมประเทศให้ยกระดับความสามารถ ในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน และ
เศรษฐกิจไทยมีความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพิ่มความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานราก และสังคมไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ปัญหาท้าทายของสังคมและสิ่งแวดล้อม
ผลสำริดทั้งสองมิตินี้สะท้อนมาจากวิสัยทัศน์ "สานพลังการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไทย พลิกโฉมให้ประเทศ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่า และพร้อมก้าวสู่อนาคต"
จากผลสำริดที่คาดหวังที่สะท้อนมาจากวิสัยทัศน์นี้ สามารถมาวิเคราะห์เป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่จะสนับสนุนวิสัยทัศน์และผลสำริดนี้ โดยพิจารณา ความสามารถที่ต้องพิเคราะห์ ซึ่งอาจจะสะท้อนมาจาก 4 มิติกลยุทธืองค์กรที่สำคัญตามแนวคิด "ฺBalance Scorecard" สำหรับหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งจะแบ่งเป็น ด้านการเรียนรู้ (การพัฒนาองค์กร) พัฒนากระบวนการและการจัดการทรัพยากร (ด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ) การตอบสนองต่อผู้มีส่วนได้เสีย (ด้านคุณภาพการให้บริการ) และ ด้านประสิทธิผลตามพันธกิจและผลกระทบจากประสิทธิผล เช่น การพัฒนาด้านความยั่งยืนของประเทศ
ตัวอย่าง
การพัฒนาด้านความยั่งยืนของประเทศ เป็นการนำเอาเป้าหมายความยั่งยืนมาเป็นตัวตั้ง โดยอิงมาตรฐานสากล เช่น IMD
ผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ กลุ่มคนที่ได้รับคุณค่า ประโยชน์ หรือผลกระทบจากการให้บริการ (จากการดำเนินการที่ดีด้านการเงิน) เช่น การลดความเหลื่อมล้ำในการให้บริการ การลดความขัดแย้ง การได้โอกาสด้านการเริ่มชีวิตใหม่ การลดหนี้สิน
ด้านการเงิน ได้แก่ การจัดการทรัพยากรเวลา เงิน คน และทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียสำคัญ เช่น การลดเวลาในการดำเนินการ การเพิ่มเวลาในการให้บริการ
ด้านกระบวนการ ได้แก่ ร้อยละของประสิทธิภาพของกระบวนการในการ ตรวจสอบปัจจัยข้า การลดการสูญเสียในระบบ การลดการหมุนเวียนของพนักงาน ความเที่ยงตรงของข้อมูล การลดอุบัติเหตุหน้างาน การลดต้นทุนในกระบวนการ ความรวดเร็วของกระบวนการตัดสินใจ การให้บริการได้ทันที
ด้านการเรียนรู้และเติบโต ได้แก่ การลงทุนเพิ่มในทรัพย์สินในการดำเนินการ (เช่น ระบบสารสนเทศ อุปกรณ์ เครื่องจักร) การเพิ่มทักษะพนักงาน การซื้อหรือพัฒนาทรัพย์สินทางปัญญา การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร หรือการรักษาหรือเพิ่มพนักงานที่มีคุณค่า
ส่วนที่ 3. การพัฒนาแผนปฏิบัติราชการ (แนวทางยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินการ (กลยุทธ์))
ยุทธศาสตร์องค์กร/แผนปฏิบัติการ (เรื่องที่ )
การพัฒนายุทธศาสตร์องค์กรภาครัฐนั้นจะเป็นการนำข้อมูลทั้งหมดเข้ามาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือในการดำเนินการและขมวดมาเป็นกลุ่มประเด็นสำคัญที่ต้องดำเนินการ หรือ 'แผนปฏิบัติการเรื่องที่ ()' ภายใต้หมวด 'แผนปฏิบัติราชการ' โดยเครื่องมือที่ใช้ย่อยประเด็นและขมวดกลุ่มประเด็น ได้แก่ การระบุความท้ามาย การวิเคราะห์ TOWS การวิเคราะห์ลักษณะสำคัญขององค์กร (6Cs) และการระบุกลยุทธ์
เครื่องมือที่ใช้ย่อยประเด็นและขมวดกลุ่มประเด็นเพื่อตั้ง (กลยุทธ์) ยุทธศาสตร์
การวิเคราะห์ลักษณะสำคัญขององค์กร (6Cs) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการย่อยประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการสำคัญขององค์กร โดยมีองค์ประกอบย่อยดังนี้
ความสามารถหลักขององค์กร สอดคล้องกับทรัพยากรที่องค์กรมีและมีคุณภาพสูงสุด เช่น มีนักกฎหมายในบริบทเฉพาะ
กฎหมายหรือกฎระเบียบที่ต้องปฏิบัติตาม เป็นส่วนวิเคราะห์กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ หรือนโยบายสำคัญ
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เป็น "ผู้ที่สร้างผลกระทบหรือได้รับผลกระทบจากองค์กร"
สภาพแวดล้อมและความสามารถในการแข่งขัน เป็นการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญจากปัจจัยภายนอกและการระบุถึงจุดแข็งขององค์กรที่นำไปสู่ความสามารถในการแข่งขัน
การเปลี่ยนแปลงในองค์กรที่สำคัญ เช่น การที่มีผู้มีประสบการณ์เกษียรเป็นจำนวนมาก การที่องค์กรต้องเปลี่ยนเป็นดิจิทัล หรือมีกฏหมายที่บังคับให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสำคัญ
ประเด็นท้าทาย เป็นข้อมูลที่ระบุถึงความท้าทายที่เกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้นแก่องค์กร
การระบุความท้าทาย เป็นกระบวนการสังเคราะห์ประเด็นที่เกิดขึ้นภายในและภายนอกองค์กรที่กระทบต่อการบรรลุเป้าหมาย โดยมีตัวอย่าง ณ ต่อไปนี้
ตัวอย่าง
การบูรณาการนโยบายที่ไม่เชื่อมโยง (นโยบายด้านอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมยังแยกส่วน) ทำให้ไม่สามารถขับเคลื่อนเป้าหมายชาติแบบองค์รวม และตอบสนองต่อแนวโน้มระดับโลก (เช่น AI, พลังงานสะอาด) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบราชการที่ล่าช้าและซับซ้อน (กระบวนการขอทุน เบิกจ่าย และกฎระเบียบยังล้าสมัย) ทำให้ลดความคล่องตัว ความน่าเชื่อถือ และความสามารถในการร่วมมือกับภาคเอกชนและนานาชาติ
การพัฒนาและรักษาบุคลากร (สมองไหล แรงจูงใจต่ำสำหรับนักวิจัยและนวัตกรรุ่นใหม่) ส่งผลให้ขีดความสามารถด้านวิจัยของประเทศลดลง และแข่งขันในระดับโลกได้ยากขึ้น
ช่องว่างระหว่างนวัตกรรมกับอุตสาหกรรม (งานวิจัยไม่ถูกนำไปใช้จริงในเชิงพาณิชย์หรืออุตสาหกรรม) ลดผลตอบแทนจากการลงทุนภาครัฐในงานวิจัย และขาดการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจจริง
ระบบนิเวศภูมิภาคยังไม่สมดุล (ทรัพยากรและโอกาสกระจุกตัวในกรุงเทพฯ หรือมหาวิทยาลัยขนาดใหญ่) ส่งผลให้สถาบันในภูมิภาคแข่งขันได้น้อย และพัฒนาได้ไม่เท่าเทียม
การตอบสนองต่อเทรนด์ใหม่ยังไม่ทันการณ์ (ขาดกลไกตอบสนองเชิงรุกต่อประเด็นใหม่) เช่น AI, เศรษฐกิจสีเขียว, การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ประเทศ พลาดโอกาสในการเป็นผู้นำระดับภูมิภาคในสาขาที่เติบโตเร็ว
การวิเคราะห์ TOWS เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการย่อยประเด็นและพิจารณาถึงแนวทางกลยุทธ์ในการดำเนินการ โดยองค์ประกอบของ TOWS ได้แก่
Threat (ปัจจัยคุคามจากภายนอกองค์กร)
Opportunity (โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของภายนอก) โดยข้อมูลที่นำมาใช้ตรงนี้จะนำมาจากการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายนอก
Strength (จุดแข็งขององค์กรที่จะช่วยส่งมอบหรือต่อยอดเพื่อส่งคุณค่าให้กับลูกค้าในรูปแบบต่างๆ) และ
Weakness (จุดอ่อนขององค์กรที่จะส่งมอบคุณค่าให้แก่ลูกค้า)
การระบุกลยุทธ์ สำหรับการวิเคราะห์เพื่อระบุกลยุทธ์นั้นของมูล 6Cs ความท้าทาย และ TOWS จะถุกนำมาสังเคราะห์และพิจารณาว่า (1) จะจัดการกับข้อจำกัดอย่างไร (2) จะตอบสนองต่อปัจจัยคุกคามอย่างไร (3) จะนำจุดแข็งมาแสวงหาโอกาสได้อย่างไร และ (4) จะเสริมความแข็งแกร่งได้อย่างไร
กิจกรรม: นำข้อมูลวิเคราะห์ขององค์กรท่านเข้ามาเขียนใน ตาราง 6Cs และ TOWS และระบุกลยุทธ
ตัวอย่างยุทธศาสตร์/แผนปฏิบัติราชการ/แผนปฏิบัติการ (เรื่องที่ )
การเปลี่ยนแปลงของสภาพของสภาพแวดล้อมภายนอกและนโยบายการแข่งขันนั้นทำให้เกิดความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนองค์กร ที่จะช่วยให้องค์กรสามารถเพิ่มความความสามารถขององค์กร
ตัวอย่างกลยุทธ์ เช่น
กลยุทธ์การปรับองค์กรเป็นดิจิทัล
การพัฒนาความเป็นสากล
กลยุทธ์ที่การสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร
ผู้นำด้านการต้นทุนบริการ
การนำเสนอความแตกต่างในบริการ
การพัฒนานวัตกรรมสินค้าหรือบริการเพื่อเสริมความสามารถ
การเข้าถึงกลุ่มประชาชนหรืผู้มีส่วนได้เสีย
เพิ่มความหลากหลายของบริการ
สนับสนุนสมาชิกในห่วงโซ่อุปทาน (เช่น การให้ยืมเงินทุน การให้ความรู้)
เพิ่มคุณค่าให้กับบริการ
การเพิ่มขอบเขตการดำเนินการรูปแบบแนวนอน และแนวตั้ง
การร่วมทุนเอกชน การควบรวมกิจการ (แนวตั้งและแนวนอน)
จ้างดำเนินการในกิจกรรมที่มีคุณค่าต่ำ (การจ้างดำเนินการ)
การร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับคู่ค้าหรือลูกค้า
เป้าหมายและตัวชีวัด
การพัฒนาตัวชี้วัดเชิงกลยุทธ์นั้นจำเป็นต้องมีเพื่อให้สามารถติดตามได้ว่าการดำเนินการนั้นไปถึงไหนแล้ว นอกเหนือจากนั้นยังเป็นตัวตั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นตัวตั้งในการคิดเป้าประสงค์ในการดำเนินการของหน่วยงาน และการพัฒนาโครงการเพื่อตอบเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร
เป้าหมาย: เป้าหมายเป็นผลลัพธ์ที่พึงได้รับหลังจากได้มีการดำเนินกลยุทธ์ เช่น สร้างความร่วมมือกับ (...) ป้องกันการ (...) เพิ่มประสิทธืภาพด้าน (...)
ตัวชี้วัด: ทุกๆ วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์จะต้องมีตัววัดประเมิน 1 ถึง 2 ตัวชี้วัดเพื่อประเมินถึงประสิทธิผลการดำเนินการ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการเพิ่มจำนวนลูกค้า ตัวชี้วัดก็ต้องเป็น 'จำนวนลูกค้าที่เพิ่มได้ในช่วงเวลา' หรือถ้ามีวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ว่า ต้องการเพิ่มความเชี่ยวชาญเชิงลึกของพนักงาน ก็ต้องวัดด้วย 'จำนวนชั่วโมงของการอบรมทักษะเชิงลึก'
ค่าเป้าหมายตัวชี้วัด: ค่าเป้าหมายสามารถตั้งได้ทั้งรูปแบบของค่าแท้จริงตามวัตถุประสงค์ธุรกิจ เช่น ยอดรายได้กี่บาท จำนวนเที่ยวที่เพิ่มขึ้น อันดับ หรือเป็นในลักษณะร้อยละของการดำเนินการ เช่น ค่าร้อยละของบริษัทแบ่งออกเป็น 5 ระดับ (1) บรรลุเป้าหมายทั้งหมดร้อยละ 100 (2) บรรลุเป้าหมายร้อยละ 81-99 (3) บรรลุเป้าหมายร้อยละ 61- 80 (4) บรรลุเป้าหมายร้อยละ 50-60 (5) บรรลุเป้าหมายร้อยละ 0-49
หมายเหตุ: ตัวชี้วัดหมาหลายระดับทั้งระดับวิสัยทัศน์ ระดับนโยบาย ตัวชี้วัดแผนปฎิบัติราชการรวม ตัวชี้วัดแผนปฎิบัติการ ตัวชี้วัดแนวทางการปฏิบัติการ ตัวชี้วัดแผนงาน ตัวชี้วัดโครงการ ตามที่ต้องการจะติดตามหรือวัดประเมิน
แนวทางการพัฒนา
แนวทางการพัฒนานั้นคือ 'กลยุทธ์' ในการบรรลุยุทธศาสตร์ ('แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ ()') นั้นคือการที่ยุทธศาสตร์ จะถูกนำมาพิเคราะห์แนวทางการพัฒนาที่จะทำให้ยุทธศาสตร์บรรลุผล รวมถึงการสร้างโครงการขึ้นมารองรับ แนวทางการพัฒนา และยุทธศาสตร์
ตัวอย่าง (ยุทธศาสตร์ (แผนปฏิบัติราชการ เรื่องที่ ())| แนวทางการพัฒนา | โครงการ):
แผนปฏิบัติราชการการด้าน (): ปรับองค์กรเป็นดิจิทัล
แนวทางการพัฒนา (): พัฒนา Digital Platform กลาง
โครงการพัฒนาระบบ e-Grant / e-Registry สำหรับทุนวิจัย
แนวทางการพัฒนา (): ยกระดับ Digital Skills
โครงการอบรม Digital Literacy ให้บุคลากรระดับจังหวัด
แผนปฏิบัติราชการการด้าน (): การสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร
แนวทางการพัฒนา (): สร้างระบบกองทุนหมุนเวียน
โครงการจัดตั้ง Endowment Fund เพื่อวิจัยยั่งยืน
แนวทางการพัฒนา (): บูรณาการ ESG
โครงการ ESG Integration in Higher Education
แผนปฏิบัติราชการการด้าน (): ผู้นำด้านต้นทุนบริการ
แนวทางการพัฒนา (): ลดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน
โครงการจัดซื้อรวมอุปกรณ์วิจัยระดับประเทศ
แนวทางการพัฒนา (): ปรับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
โครงการลดขั้นตอนการเบิกจ่ายทุน
แผนปฏิบัติราชการการด้าน (): การเข้าถึงกลุ่มประชาชน/ผู้มีส่วนได้เสีย
แนวทางการพัฒนา (): สื่อสารสาธารณะ
โครงการ “MHESI Roadshow”
แนวทางการพัฒนา (): เวทีรับฟังความคิดเห็น
โครงการจัดเวที Public Hearing ด้านนโยบายวิจัย
แผนปฏิบัติราชการการด้าน (): การเพิ่มขอบเขตแนวนอน/แนวตั้ง
แนวทางการพัฒนา (): สร้างเครือข่ายระดับภูมิภาคและระดับอุตสาหกรรม
โครงการสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยกลุ่มจังหวัด
โครงการสนับสนุน Value Chain-based Research
แผนปฏิบัติราชการการด้าน (): สร้างความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับคู่ค้า/ลูกค้า
แนวทางการพัฒนา (): พัฒนา partnership agreement
โครงการความร่วมมือกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (เช่น BCG, EV, AI)
โครงการร่วมพัฒนาหลักสูตรกับกลุ่มอุตสาหกรรม
ส่วนที่ 4. การการเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติราชการ
การเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนกลยุทธ์
การแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฎิบัตินั้นเป็นการที่จะต้องเข้ามาพิจารณาถึงการของบประมาณ โครงสร้างองค์กร และการขยับในส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่สำคัญ โดยผู้อำนวยการในแต่ละแผนก (เช่น การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ตรวจสอบ จัดซื้อ คลังและพัสดุ การเงิน กลยุทธ์ สารสนเทศ) จะต้องมีการวิเคราะห์กลยุทธ์ ตัวชี้วัดรวม มาระบุแนวทางการพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนงาน และโครงการเพื่อขับเคลื่อน
หมายเหตุ: การขยับในส่วนของห่วงโซ่คุณค่าที่สำคัญ โดยผู้อำนวยการในแต่ละแผนก (เช่น การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ตรวจสอบ จัดซื้อ คลังและพัสดุ การเงิน กลยุทธ์ สารสนเทศ) จะต้องมีการวิเคราะห์กลยุทธ์ ตัวชี้วัดรวม มาระบุแนวทางการพัฒนา เป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนงาน และโครงการเพื่อขับเคลื่อน
โครงสร้างองค์กร
โครงสร้างองค์กรมีความสำคัญด้านของการ 'ขับเคลื่อน' และการ 'ควบคุม' ซึ่งโครงสร้างองค์กรเกี่ยวข้องกับการวางบุคคลากรที่พร้อมขับเคลื่อน การรายงาน และอำนาจในการตัดสินใจและการตัดสินใจ
โครงสร้างองค์กรจำเป็นต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในการดำเนินการ เช่น หากเน้นการเพิ่มระดับการให้บริการด้านสารสนเทศทประชาชน โครงสร้างองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบสารสนเทศน์ต้องทาแบ่งเป็นหน่วยงานย่อย รวม หรือการตั้งหน่วยงานเพิ่มขั้น หรือเนื้องาน หรือนโยบายรัฐที่เน้นการไกล่เกลี่ยมากขึ้น การตั้งหน่วยงานไกล่เกลี่ยก็อาจจะต้องถูกตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์นี้ (ซึ่งต้องไม่ลืมว่าไม่จำเป็นต้องมีการตั้งตำแหน่้งใหม่ แต่อาจยุบบางหน่วยงานเพื่อมาเสริมหน่วยงานย่อยใหม่เพื่อสนับสนุนการดำเนินการนี้ได้)
ทั้งนี้บางงานที่ขาดความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากร หริอต้องการส่งเสริมหน่วยงานเกี่ยวข้อง ใน outsource กิจกรรมบา่งอย่างไปสู่หน่วยงานอื่นอาจเป็นประโยชน์สูงสุด
บุคลากร
การเตรียมความพร้อมบุคคลากร จะเกี่ยวข้องกับ
การวางทีมบริหาร ทีมงานในการขับเคลื่อน รวมถึงการสรรหาบุคคลที่มีความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญและผู้วางแผนที่พร้อมขับเคลื่อน
การอบรมโดยเน้น 'สมรรถนะ' ที่สอดคล้องกับกลยุทธ์องค์กร
แนวทางปฏิบัติและวินัย
วัฒนธรรมองค์กร
การปรับเปลี่ยนกระบวนการดำเนินการและการกำหนดนโยบายและมาตรฐาน
การปรับเปลี่ยนกระบวนการจะมีความสำคัญหากกลยุทธ์ขององค์กร เนื่องจากความสามารถองค์กรในหลายกรณีเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนกระบวนการ หรือการนำระบบหรือมาตรฐานเข้ามาเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกระบวนการ เช่น ลดต้นทุนการให้บริการ การนำเสนอบริการด้านดิจิทัล เพิ่มความยืดหยุ่นการบริการ หรือเพิ่มระดับการบริการ จะสัมพันธ์กับการเพิ่มหรือลดทรัพยากร การอนุมัติและการควบคุม รวมถึงการจัดการการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้เกี่ยวข้องด้วยกับระเบียบ คำสั่ง หรือการออกนโยบาย
การได้มาซึ่งทรัพยากร
ทรัพยากรบางประเภทเป็นทรัพยากรเฉพาะด้าน เช่น ทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งแนวทางที่ได้มาอาจจะต้องมาจาก 1. การพัฒนาภายในองค์กร 2. การซื้อหริอควบรวมมากจากหน่วยงานภายนอก 3. การสร้างจากการมีความร่วมมือ
งบประมาณ
การของบประมาณจะแบ่งออกเป็นงบประมาณประจำและงบประมาณในการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ซึ่งจะเห็นได้ในระดับของงบประมาณและระดับโครงการ
แหล่งรายได้ที่จะนำมาขับเคลื่อนกลยุทธ์อาจจะอยู่ในด้านของการของบประมาณ หรืออาจใช้เงินรายได้หน่วยงาน (เช่น เงินรายได้ค่าธรรมเนียม) ในการใช้ขับเคลื่อนกลยุทธ์ อย่างไรก็ดีโครงการที่มีแนวโน้มได้รับอนุมัติจะเป็นโครงการที่สอดคล้องตัวชี้วัดของแผนในลำดับก่อนหน้า โดยอาจใช้ตัวชี้วัดตัวเดียวกันมาเป็นตัวตั้งของโครงการ
การวางแผนการจัดการเปลี่ยนแปลง
ความสำเร็จของแผนกลยุทธ์อาจมีอุปสรรคในการขับเคลื่อนอันเนื่องมาจาก 'การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง' ของบุคลากรในองค์กร โดยมากมากจาก
การกังวลใจต่อสิ่งที่คาดเดาำม่ได้จากการเปลี่ยนแปลง
ควบคุมปัจจัยการทำงานไม่ได้เหมือนก่อน
ขาดความไว้ใจ
อยู่ในจุดที่สบายแล้ว ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงให้ต้องเรียนรู้ใหม่ หรือมีความยากในการทำงานที่มากขึ้น
ประเมินได้ถึงผลกระทบทางลบต่อตัวเองหรือองค์กร
ไม่เข้าใจหรือไม่ได้รับการสื่อสารที่ถูกต้อง
ประสบการณ์ที่ไม่ดีจากการเปลี่ยนแปลงครั้งก่อน
วัฒนธรรมองค์กรที่ไม่สร้างให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
มีผลประโยชน์ส่วนตัวอยู่เบื้องหลังการต่อต้างการเปลี่ยนแปลง
ปราศจากทรัพยากรและการสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงจากองค์กร
ดังนั้นในการจัดการการเปลี่ยนแปลงจึงมีความสำคัญ ตัวอย่างแนวทางการจัดการการเปลี่ยนแปลง ได้แก่
การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลง
การสร้างการมีส่วนร่วม
การให้ความรู้และการอบรมในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลง และสมรรถนะใหม่
การได้รับการสนับสนุนจากผู้นำองค์กร
การเก็บข้อมูลประเด็นที่กังวลใจและให้แนวทางการจัดการ
การสร้างความไว้ใจต่อการเปลี่ยนแปลง
การแสดงให้เห็นวส่าการเปลี่ยนแปลงจะสร้างประโยชน์อย่างไร
การสร้างระบบพี่น้องที่ช่วยสนับสนุนซึ่งกันและกันในช่วงการเปลี่ยนแปลง
การประเมินปัญหา แนวทาง และปรับปรุง
แผนที่กลยุทธ์เพื่อการสื่อสาร
แผนที่กลยุทธ์นั้นใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์และสื่อสารความเชื่อมโยงของวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ และช่วยพัฒนาตัวชีวัด ค่าเป้าหมาย และการเลือกกลยุทธ์ แนวคิดสำคัญคือการนำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์มาเชื่อมโยงและพิจารณาความสอดคล้อง ก่อนนำมาเป็นตัวตั้งในการพัฒนา ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และการเลือกกลยุทธ์
หมายเหตุ: การคิดเรื่องการเติบโตนั้นให้ลองตั้งคำถามว่า 'เราต้องรู้ ต้องสามารถ และมีทรัพยากรอะไรบ้างถึงทำให้กระบวนการดำเนินการทำได้ดี?' การพิเคราะห์เรื่องกระบวนการภายในให้ตั้งคำถามว่า 'เราต้องพัฒนาหรือปรับกระบวนการอย่างไรเพื่อตอบสนองคุณค่าที่ประชาชนหรือผู้รับบริการต้องการที่ได้รับจากสินค้าหรือบริการ' การวิเคราะห์เรื่องลูกค้าให้ตั้งคำถามว่า 'ใครเป็นผู้รับบริการและคุณค่าที่เขาต้องการได้จากสินค้าหรือบริการขององค์กรคืออะไร?' การพิเคราะห์เรื่องการเงินให้ตั้งคำถามว่า 'ผู้มีส่วนได้เสียต้องการอะไร?'
ส่วนที่ 5. การขับเคลื่อนกลยุทธ์
การถ่ายทอดแผนไปสู่การปฏิบัติ
การนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัตินั้นจะเกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดแผนไปสู่ระดับสำนัก/กอง โดยการเข้าใจถึง แผนปฏิบัติราชการด้าน เป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย แนวทางการดำเนินการ โดยที่ผู้อำนวยการระดับสำนัก/กอง เป็นผู้วางแผนการดำเนินการ ในรูปแบบของแผนปฏิบัติการรายสำนัก/กอง โดยมีโครงการที่มัรายละเอียดและตัวชี้วัดประกอบ
หมายเหตุ: บางองค์กรอาจขึ้นโดยตรงกับกระทรวง แต่บางองค์กรองค์กรอาจขึ้นกับจังหวัด ซึ่งถ้าต้องมีขึ้นกับจังหวัดจำเป็นต้องมีการสร้างความเข้าใจเรื่องแผนยุทธศาสตร์จังหวัด เพื่อสามารถเขียนโครงการพัฒนาร่วมกับจังหวัดได้
การวิเคราะห์ผลกระทบโครงการ (ต่อสังคมและ/หรือเศรษฐกิจ)
การวิเคราะผลกระทบทางเศรษกิจหรือสังคมนั้น จำเป็นสำหรับโครงการต่างๆ ที่การลงทุนไม่เห็นทางตรงแต่เห็นผลทางอ้อม เช่น โครงการอบรมประชาชน (ผลทางตรงอาจจะไม่เห็นแต่ถ้าเป็นการประเมินด้าน การจ้างงาน การซื้วัตถุดิบ และการสร้างโอกาสการเข้าถึงความรู้ก็จะตัดสินใจด้านผลตอบแทนโครงการได้)
กรอบการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจจะมี 3 ระดับ อันได้แก่
1. การประเมินผลกระทบทางตรง (เช่น การลงทุนในอุปกรณ์ ทรัพย์สินทางปัญญา ค่าแรงในบการก่อนสร้างหรือดำเนินการทางตรง รายได้เพิ่มต่อสังคมและชุมชน หรือมูลค่าเพิ่มของผลผลิตที่เพิ่มขึ้น)
2. ผลกระทบทางอ้อม เช่น ค่าแรงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินกิจกรรมต่อชุมชน การซื้อวัตถุดิบชุมชนที่ขายได้เพิ่มจากการเข้ามาของกิจกรรม
3. ผลกระทบต่อยอด เช่น เงินค่าแรงที่ได้ของชุมชนไปซื้อสินค้าหรือบริการเพิ้่มเติม
สำหรับการประเมินผลกระทบต่อสังคมนั้น จะมีการวัดประเมินจากปัจจัยต่อไปนี้
โอกาสด้านการจ้างงาน
การกระจายรายได้ และการลดระดับความยากจน
การเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุข รายจ่ายสาธารณสุข และการเปลี่ยนแปลงของดัชนีชี้วสัดด้านสาธารณสุข
การส่งเสริมการเข้าถึงทางการศึกษาและประสิทธิภาพของแรงงานที่เพิ่มขึ้น
การมีส่วนร่วมทางสังคมและการส่งเสริมการีเข้าถึงของสังคมและบริการสังคม
การส่งเสริมคุณภาพชีวิต ด้านการเข้าถึงที่พักอาศัย การมีอยู่ของที่พักอาศัย คุณภาพที่พักอาศัย
การเข้าถึงสาธารณูปโภคขึ้นพื้นฐาน ต้นทุนและคุณภาพของสาธารณูปโภค
ระดับความมั่นคงและความปลอดภัยของประชาชนในสังคม
การส่งเสริมความเข้มแข็งของสังคมและชุมชนด้านการพัฒนาตัวเอง การให้อำนาจตัดสินใจ การเครพสิทธิเสรีภาพทางเพศ และการสร้างโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนหรือสังคม
การส่งเสริมการอนุรักษ์ และพัฒนาวิถีชีวิตและวัฒนะธรรมท้องถิ่นและชุทชน รวมถึงการเพิ่มมูลค่าของวิถีชีวิตท้องถิ่น
การส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและการมีจิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรและภูมิปัญญาทย้องถิ่น
ระดับผลกระทบจะสัมพันธ์กับของเขตและช่วงเวลาในการดำเนินการโครงการ โดยพิจารณาจาก
ขนาด (จำนวนและมูลค่า)
การเติบโต (CAGR%)
ระดับในวงจรผลิตภัณฑ์/โครงการ
ช่วงเวลาดำเนินการ
ฤดูการ และ
อัตราผลกระทบ
จำนวนผู้ดำเนินการ
โครงสร้างต้นทุนการดำเนินการ
จำนวนขายและโครงสร้างรายได้
กลยุทธ์ทางการธุรกิจ
การผลิต
ด้านโลจิสติกส์
ความสามารถในการดำเนินการ
โครงสร้างเงินทุน การเข้าถึงแหล่งทุน และต้นทุนเงินทุน
คู่ค้าที่สำคัญ
การตอบสนองและแนวทางการพัฒนาความสัมวพันธ์กับคู่ต้าและลูกค้า
กิจกรรม
การมีอยู่ของทรัพยากรและความสามารถ
ส่วนที่ 6. การประเมินผลสำริด
การประเมินผลสำริด
การประเมินผลสำริดจะพิจารณาจากการบรรลุผลสำริดตามเป้าหมายตามลำดับขึ้นดังนี้
แผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี
แผนปฏิบัติราชการระยะ 1 ปี
แผนปฏิบัติรา่ชการทั้งสองระดับนั้นมีตัวชี้วัดภายในที่มีการวัดประสิทธิภาพการดำเนินการดังนี้
ตัวชี้วัดเป้าหมาย
ตัวชี้วัดนโยบาย
ตัวชี้วัดวิสัยทัศน์
ตัวชี้วัดแผนปฏิบัติราชการด้าน (...)
ตัวชี้วัดแนวทางการดำเนินการ (ทางเลือก)
ตัวชี้วัดแผนการดำเนินการสำนัก/กอง
ตัวชี้วัดโครงการ/กิจกรรม
ทั้งนี้ตัวชี้วัดทั้งหมดควรที่จะสอดคล้องกันเป็นลำดับขึ้น จากตัวชี้วัดโครงการ/กิจกรรมขึ้นไป