รู้ได้ไงว่าธุรกิจเราจะแข่งกับคนอื่นได้
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
ในการประเมินความสามารถในการแข่งขันของเราก่อนที่จะเอาเงินไปทุ่มๆ กับกิจกรรมทางการตลาดหรือกิจกรรมทางธุรกิจ อยากให้ ‘หยุด’ และมองย้อนดูตัวธุรกิจเองว่าควรทุ่มการแข่งขันไปแต่ ‘การตลาด’ หรือควรทุ่มไปที่ ‘การพัฒนาตัวธุรกิจเองจากภายใน’
การที่เราจะแข่งได้มันไม่ใช่แค่ภาพสวย เล่าเรื่องเก่ง แต่มันคือ ‘สมรรถนะ’ ของธุรกิจที่โดดเด่นเพื่อสร้าง ‘ความได้เปรียบในบการแข่งขัน’ คราวนี้จะรู้ได้ไงว่ามี ‘สมรรถนะ’ ขนาดไหนก็ไม่ซับซ้อนถ้ามองย้อนมาดูว่าธุรกิจเรามี ‘ทรัพยากร’ และ ‘ใช้ทรัพยากรอย่างไร’
ทรัพยากรธุรกิจมีหลายอย่าง เช่น บุคลากร ทักษะและความสามารถบุคลากร เงินทุน อุปกรณ์ เครื่องจักร ทรัพยสินทางปัญญา ระบบสารสนเทศ หรือสัญญาบางลักษณะ ซึ่งทรัพยากรเหล่านี้แบ่งเป็นทรัพยากรที่จับจ้องได้และจับต้องไม่ได้ ซึ่งเมื่อตอนตั้งธุรกิจใหม่ๆ เราอาจมีแค่เงินทุน กับความสามารถของเจ้าของคนเดียว ซึ่งหลายครั้งไม่พอที่จะอยู่ในตลาดด้เนื่องจากจำเป็นต้องมีทรัพยากรอื่นประกอบเพื่อให้อยู่ได้
การจัดการทรัพยากรเหล่านี้ที่ดีคือการที่เราจะสามารถนำทรัพยากรเหล่านี้มาสร้างขีดความสามารถองค์กรได้มากหรือน้อย เช่น มีที่ดินติดทะเล แต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรก็คือมีทรัพยากรที่ดีแต่ไม่รู้จะทำอย่างรีให้ได้ความได้เปรียบหรือแข่งขันกับคนอื่นได้ จากตัวอย่างนี้คือมีทรัพยากรแต่ไม่มีขีดความสามารถในการใช้ทรัพยากร ซึ่งไม่แปลกอะไร แต่การที่จะอยู่ได้ในตลาดที่มีความแข่งขันสูง การเอาทรัพยากรเหล่านั้นมาสร้างสมรรถนะหรือขีดความสามารถ อาจเป็นจุดคิดเรื่องของว่าควรจะทุ่มเงินกับอะไร และต้องทุ่มมากขนาดไหนเพื่อให้เป็นสมรรถนะเด่น เช่น ต้องหาคนที่เก่งที่ช่วยวางแผน การต้องสร้างอาคารมีรูปร่างที่ดึงดูด หรือการใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงตลาดเป้าหมาย
เมื่อมีสมรรถนะเด่นและจะพบว่าต้นทุนการหาลูกค้าจะลดลงมาก ลูกค้าจะเดินเข้ามาหาเอง (เหมือนร้านอาหารที่อร่อยและตรงกลุ่มลูกค้า) แต่ถ้ามันไม่ถึงจุดนี้เราจะรู้กดดันและมีหลายเป็นปัญหาแต่ไม่รู้แก้ยังไง เช่น ในกรณีธุรกิจตั้งอยู่ได้แล้วแต่เหมือนทุกอย่างมันบีบคั้นหมดเช่น ราคาก็ขึ้นไม่ได้ ต้นทุนก็สูง คู่แข่งเจ้าใหม่ก็ตัดราคาอยู่ มีธุรกิจแบบใหม่ๆ ที่มาแทนตัวเราได้ทุกเมื่ออยู่ อันนี้คือสัญญาและว่าขีดความสามารถองค์กรของท่านลดลง จะเป็นต้องเสริมสมรรถนะเด่นอื่นขึ้นมา ซึ่งอาจหาได้จากการมองโมเดลธุรกิจใหม่ หาคนที่มีประสบการณ์หรือแนวคิดที่ตกผลึกมาช่วยมอง และพัฒนาความสามารถเดิมเชิงลึกขึ้น ซึ่งผลลัพธ์คือ ‘สมรรถนะเด่นเหนือคู่แข่ง’ ที่จะนำไปสู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน
ประยุกต์ความเข้าใจนี้กับคนที่ทำงานปรกติไม่เข้าวงการแต่มีของเช่น ท่านเป็นนักประดิษฐ์นักนวัตรกร การพิเคราะห์ ‘ทรัพยากรภายใน’ ของท่านมาดู ท่านจะมองภาพเห็นได้ชัดเลยว่าวันนี้การทำสินค้าที่สร้างผลกระทบจะต้องมีอะไรที่ต้องมาเสริม และต้องแสดงว่าเพิ่ม ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะทำให้ท่านวางแผนการดำเนินการเพื่อนำนวัตรกรรมท่านเข้าตลาดได้ง่ายขึ้นมาก
การวิเคราะห์ทรัพยากรภายในเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการกลยุทธ์ #ทีมผู้ประกอบการ
เห็นด้วยไม่เห็นด้วยประการใดแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น