8 คำถามประเมินโอกาสทางธุรกิจ
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
หลายครั้งเรามีไอเดียทางธุรกิจแต่ไม่รู้ว่าไอเดียไหนใช่หรืออันไหนไม่ใช่ แต่สิ่งที่รู้กันดีคือถ้า 'ทำ' โอกาสสำเร็จอยู่ที่ร้อยละ 45 และโอกาสล้มเหลวอยู่ที่ร้อยละ 55 (อันนี้ฝรั่งบอกมา เอาไว้เป็นแนวทางละกัน)
ถ้าเราจะลดความเสี่ยงล้มเหลว มีคำถามชวนคิด 8 ข้อ เพื่อคัดกรองโอกาสในการลดความล้มเหลวเหล่านั้น
โอกาสธุรกิจที่จะมามันดีพอที่จะสร้างชีวิตของเราไปได้ตลอดหรือไม่? (ในชีวิตเราโอกาสดีมีแค่ 1 ถึง 2 ครั้ง ถ้าใช่อย่าปล่อยมือ) ถ้ายังไม่รู้สึกเชื่อมั่นปล่อยมันไปเถอะครับ
คิดคำนวณความเป็นไปได้ของโอกาศให้รอบคอบโอกาสที่ดีจะสร้างผลตอบแทนให้เราภายใน 4 ปี? ถ้ามากกว่านั้นทรัพยากรที่มีของเราคงมีไม่พอที่จะเลี้ยงโอกาสอันนี้
ถ้าโอกาสอันนี้มันไม่ดีจริง เราจะออกได้แบบไม่เจ็บตัวมากอย่างไร? (หรือพอฟื้นตัวได้ในระยะเวลาอันสั้น) อย่าลุยโดยไม่มีทางออกเพราะเวลามันเจ็บแผลมันใหญ่ เตรียมพลาสเตอร์ไว้ด้วย
บริษัทเราจะเติบโตอย่างไร? อย่าคาดหวังว่าจะมีบริษัทใหญ่มาซื้อบริษัทเราไปและเราได้เงินก้อนใหญ่ใช้ชั่วชีวิต อย่าลืมว่ายิ่งเขาใหญ่เขารอบคอบและเคี่ยวกว่าเรา
วิเคราะห์ปัจจัยสำคัญในการอยู่รอดของธุรกิจในอุตสาหกรรมนี้ให้ชัดเจน? อย่างสร้างความเสี่ยงโดยการมองแต่ตัวธุรกิจไม่มองสภาพและเงื่อนไขอุตสาหกรรมให้รอบคอบ
เรามีทีมงานที่จะขยับไปด้วยกันหรือไม่? โอกาสที่ดีมันสร้างให้โตได้ด้วยกลุ่มคน ไม่ใช่ 1 คน
ลูกค้าจะสนับสนุนให้เราโตได้ใช่หรือไม่? หรือลูกค้าจะคอยกดราคาและสร้างต้นทุนเพิ่มให้เราเสมอ
โอกาสนี้เป็นโอกาสที่จะอยู่ได้ยาว? หรือโอกาศนี้อยู่ในขาลงแล้ว
แปดข้อคำถามนี้เป็นข้อคำถามสำคัญที่ช่วยฉุกคิดก่อนที่จะเริ่ม 'ทำ' และ 'ลงเงินลงแรง' ไปแบบ 'ขอไปเสี่ยงเอาข้างหน้า' เห็นด้วยไม่เห็นด้วยประการใดแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น
5 หลักสูตรผู้ประกอบการแนะนำ 2022
ห่ะ...เอาคูปองลดราคาคู่แข่งมาใช่กีบร้านเรา...อย่างนี้ก็ได้เหรอ!