ความเชื่อถือของธุรกิจและองค์กรสร้างยังไงดี?
ผศ.ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
หลักสูตรการจัดการผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
หลายครั้งที่มีคนให้ข้อแนะนำมาให้ "ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ" แก่ธุรกิจนั้นหลายครั้งก็มาคิดว่ามันใช้เวลานะ ใช้เงินลงทุน และก็ไม่ได้สร้างยอดขายได้เงินทันที เลยสงสัยมาตลอดแต่ต้องทำเหรอแต่ที่ยากกว่านั้นคือต้องทำอย่างไรถึงจะสร้างความน่าเชื่อถือยังไง
วันนี้ชัดเจนและว่า "ความน่าเชื่อถือ" กับ "ยอดขาย" มันมาด้วยกัน เพราะชัดเจนว่าถ้าเขาไม่เชื่อสิ่งที่เรานำเสนอเขาก็รู้สึกว่า "เสื่ยง" กับการซื้อสินค้าหรือบริการกับร้านนี้หรือคนนี้ ดังนั้นเพื่อให้การสร้างคามน่าเชื่อถือมันถูกปั้นได้กับธุรกิจเรา ต้องทำอย่างไรล่ะวันนี้มีทั้ง 1. แนวคิดและ 2. ตัวอย่างกิจกรรมให้
ดังนั้นย้อนกลับมาเรื่องแรกแนวคิดการสร้างความน่าเชื่อถือต้องพิจารณาอะไรเป็นสำคัญ? คำตอบคือพิจารณาการส่งมอบของตัวธุรกิจและตัวเราในด้าน;
การส่งมอบคุณภาพสินค้าและบริการ ตรงตาม "ความคาดหวังด้านคุณภาพ" ของกลุ่มเป้าหมายหลักเราหรือยัง
การนำเสนอความเชี่ยวชาญของเรา / เรามีความเชี่ยวชาญเพียงพอหรือมีผู้ช่วยที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญในธุรกิจนั้นหรือไม่
ตรงไปตรงมาหรือยัง อะไรที่เราควรแจ้งควรบอกๆ หรือยัง ความโปร่งใสคือสิ่งสำคัญที่จะสร้างความ "เชื่อใจ" ระหว่างกัน
สร้างความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันจะสร้างความมั่นใจและวางใจระหว่างกัน คำถามสำคัญคือคุณมองเขาเป็นคนเอาเงินมาให้อย่างเดียวหรือคนที่พึ่งพาระหว่างกันแลกเปลี่ยนสิ่งที่ดีให้กันหรือไม่
สื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์ ความเข้าใจและมั่นใจสามารถสร้างผ่านการได้รับสารบ่อยครั้งและข้อความแสดงถึงความเชี่ยวชาญ กิจกรรมที่สร้างความมั้่นใจ ก็จะช่วยให้สามารถสร้างความมั้นใจกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้
การได้รับการรับรองจากบุคคลที่ 3 ก็แน่นอนการพูดเอง 100 ครั้งก็ไม่น่าเชื่อเท่ามีบุคคลรับรอง ดังนั้นการมีบุคคลที่สามรับรองก็จะช่วยสร้างความมั้นใจต่อธุรกิจหรือสินค้าของท่านมากขึ้น
คราวนี้มาคำถามข้อ 2 ตัวอย่างกิจกรรมอะไรบ้างที่จะสร้างความมั้นใจต่อธุรกิจได้ ลองดูตัวอย่างเบาๆ สัก 12 กิจกรรมละกัน
การส่งมอบสินค้าหรือบริการคุณภาพอย่างสม่ำเสนอไม่ลดสเปก
การให้บริการที่ดี
การแจ้งราคาและเงื่อนไขชัดเจน
การเลือกแนวทางในการตอบสนองความพอใจและไม่พอใจให้ทุกคนได้ประโยชน์ (เราชนะก็เท่ากับแพ้ลูกค้าไปอยู่ดี)
ใช่สื่อออนไลน์ในการสื่อสาร
ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และเห็นชัดเจนว่ามีความเชี่ยวชาญ
เข้าร่วมและร่วใมกิจกรรมสมาคมหรืออุตสาหกรรมที่เราดำเนินธุรกิจอยู่
ลองล่าใบประกาศที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญ
ให้กรณีตัวอย่างที่แสดงถึงความเชี่ยวชาญและดำเนินการได้สำเร็จ
ให้ข้อเสนอด้านการรรับประกันสินค้าหรือบริการ
ใช้วิจัยตลาดเพื่อนำองค์ความรู้มาปรับใช้และแบ่งปันแก่กลุ่มผู้เกี่ยวข้อง
ยอมรับความผิดพลาดและแก้ไข
การดำเนินการเหล่านี้ค่อยๆ ทำนะครับแต่ควรเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาธุรกิจเพื่อจะได้ไม่ถูกมองว่าทำธุรกิจแบบ "ตีหัวเข้าบ้าน" รวยชั่วคราวและคนเกลียดตลอดไป
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn
หากมีข้อคิดเห็นหรือเสนอแนะใดๆ ทักมาคุยกัหรือแอดมาเป็นเพื่อนกันที่ https://www.facebook.com/kmuttentrepreneurship/
หลักสูตรการจัดการการเป็นผู้ประกอบการ นวัตกรรม และความยั่งยืน (#EPM) เป็นหลักสูตรภายใต้การกำกับดูแลของบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (#GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (#KMUTT)
สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ (02) 470-9799, (02) 470-9795-6, 084-676-5885
LINE : @GMIKMUTT
หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติม https://gmi.kmutt.ac.th/th/study-with-us/epm/
สนใจสมัครได้ที่ https://bit.ly/GMI_Apply
CRAFT LAB เตรียมความพร้อมในการพัฒนานักวิจัยให้เป็นผู้จัดการผลิตภัณฑ์ที่สามารถมีทักษะและความรู้ที่ควรเป็น อย่างมีผลลัพธ์ สนใจทักมาคุยกับได้ที่ Line: @061jlshn หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง
สำหรับท่านที่ต้องการต่อยอดความรู้ระดับ 'ปริญญาโท' ด้านความเป็นผู้ประกอบการนวัตรกรรมสามารถคลิกที่นี่เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
เพิ่มเราเป็นเพื่อนในเฟสบุ๊คเพื่อรับข่าวสารและข้อมูลต่อยอดความเข้าใจ
เรื่องที่น่าสนใจอื่น