ENTREPRENEURIAL MINDSET
"Becoming Deep Technology Entrepreneur"
"Becoming Deep Technology Entrepreneur"
หลักสูตรพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยี โดยเน้นต่อยอดแนวคิดการวิจัยต่อการพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยี
[ข้อมูลหลักสูตร | Entrepreneurial mindset | Lab-to-market Business consultant]
หลักสูตร
รูปแบบการอบรม: ประกาศนียบัตร / โมดูล
จำนวนชั่วโมงอบรม: 48 ชั่วโมง
รูปแบบการอบรม: รูปแบบการอบรมประกอบด้วย (1) การบรรยาย (2) แบบฝึกหัด (3) การฝึกปฎิบัติเดี่ยวและกลุ่ม (4) การนำเสนอกลุ่มและการสะท้อนความคิด และ (5) การให้คำปรึกษา
ช่วงเวลาทำการเรียนการสอน: เป็นการเรียนเต็มวันในวันศุกร์ ของแต่ละสัปดาห์จำนวนทั้งสิ้น 8 สัปดาห์
** ในกรณีผู้เรียนไม่สะดวกเข้าเรียนในวันและเวลาดังกล่าว สามารถเรียนย้อนหลังได้ ตามลิงก์ด้านล่าง **
สถานที่เรียน: ระบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม ZOOM
วัตถุประสงค์การอบรม
1. พัฒนาแนวคิดทางธุรกิจและพัฒนาแนวคิดการต่อยอดเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาธุรกิจ
2. พัฒนา ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะของผู้เรียนด้านการนำเทคโนโลยีไปใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจ
3. สามารถพัฒนาโมเดลทางธุรกิจที่สะท้อนกับเทคโนโลยีของนักวิจัยที่สามารถตอบความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรม
สมรรถนะที่พึงได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมในหลักสูตร
ประยุกต์ใช้ความรู้ด้านธุรกิจในการพัฒนาธุกิจเทคโนโลยี
ความรู้: การวางแผนทางการตลาด พฤติกรรมผู้บริโภคกลุ่มลูกค้าทั่วไปและลูกค้าธุรกิจ โมเดลธุรกิจ การประเมินความเป็นไปได้ของธุรกิจเบื้องต้น ความรู้ด้านต้นทุน
ทักษะ: ระบุและแยกแยะคุณค่าสินค้าหรือบริการ การวิเคราะห์ข้อมูลทางการตลาด การกรองกลุ่มเป้าหมายทางการตลาด การประเมินทรัพยากรสำหรับการพัฒนาธุรกิจ การวิเคราะหเปรียบเทียบคู่แข่ง การตรวจสอบแนวคิดทางธูรกิจเบื้องต้น การพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ การเลือกใช้เครื่องมือการจัดการ พัฒนาแผนความเสี่ยง
คุณลักษณะ: การเอาลูกค้าและตลาดมาเป็นศูนย์กลางในการคิดและต่อยอดการวิจัย
ตารางการเรียนการสอน
หัวข้อการเรียนรู้
วันที่/เวลา
เนื้อหา
ผู้สอน
14 ม.ค.2565
9.00 น. - 12.00 น.
13.00 น. - 16.00 น.
การระบุคุณค่าสินค้า
เอกสารประกอบการเรียน | วีดีโอย้อนหลัง |
Exercise: Laddering technique |
การประเมิน: คำถามชวนคิด | Post test: โจทย์, ทางไปตอบ]
การแบ่งส่วนตลาด การระบุกลุ่มเป้าหมาย
เอกสารประกอบการเรียน | วีดีโอย้อนหลัง
Exercise: Market segmentation | Targeting | Target profile |
ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
21 ม.ค.2565
9.00 น. - 12.00 น.
13.00 น. - 16.00 น.
การเข้าใจลูกค้า (ลูกค้าทั่วไปและองค์กรธุรกิจ)
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การเอาข้อมูลลูกค้ามาใช้ในการวางแผนการตลาด
เอกสารประกอบการเรียน | ตัวอย่างคำถามเพื่อเข้าใจลูกค้า | ตัวอย่างแบบสอบถาม | ตัวอย่างแบบสัมภาษณ์ | ตัวอย่างผลการศึกษา 1 | 2 | 3 | วีดีโอย้อนหลัง
การประเมิน: ประเมินหลังเรียน
ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
28 ม.ค.2565
9.00 น. - 12.00 น.
13.00 น. - 16.00 น.
การวิเคราะห์ตลาดและการวิเคราะห์ภาวะการแข่งขัน
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและทรัพยากรภายในเพื่อระบุโอกาสการแข่งขัน
เอกสารประกอบการเรียน | วีดีโอย้อนหลัง
Example: ตลาดชาเขียวพร้อมดื่ม | Product life cycle and marketing strategy hack sheet | Association rules | Cross elastic of demand
Case for discussion: Resources and marketing decisions | คำถามชวนคิด
Additional Video: Brand switching matrix calculation
การประเมิน: Rethinking about commercialization of your product and service
ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
4 ก.พ.2565
9.00 น. - 12.00 น.
13.00 น. - 16.00 น.
กลยุทธ์การเติบโตขององค์กร และการออกจากตลาด
[เอกสารการอบรม (เช้า) | วีดีโอ]
กรณีศึกษา: การพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การวางกลยุทธ์ธุรกิจเทคโนโลยี
11 ก.พ.2565
9.00 น. - 12.00 น.
13.00 น. - 16.00 น.
การพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ: กิจกรรมหลัก หน้าที่หลัก และทรัพยากรหลักในการขับเคลื่อนองค์กร [เอกสารการอบรม | วีดีโอ | Post test]
อบรมเชิงปฎิบัติการ: พัฒนาความเข้าใจการเงินกับการพัฒนาธุรกิจด้วยเกม [เกมธุรกิจ | คู่มือการเล่นเกม | Post test]
Example: IRR, NPV, PB | FV, PV | WACC Calculation | Cashflow calculation
กรณีศึกษา: โจทย์ | ตารางตัวอย่าง
ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
18 ก.พ.2565
9.00 น. - 12.00 น.
13.00 น. - 16.00 น.
โมเดลรายได้และการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การวิเคราะห์ราคาสินค้าหรือบริการ
[เอกสารการอบรม | P&L and Cashflow calculation | วีดีโอ | Post test]
4 มี.ค.2565
9.00 น. - 11.00 น.
11.00 น. - 12.00 น.
13.00 น. - 16.00 น.
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจ
[เอกสารประกอบการสอน 1 | Project templete | วีดีโอ]
การประเมินความเสี่ยงโมเดลธุรกิจ (ส่วนที่ 1)
[เอกสารประกอบการสอน | วีดีโอ]
การประเมินความเสี่ยงโมเดลธุรกิจ (ส่วนที่ 2)
[Post test | วีดีโอ]
ผศ. ดร. ปารเมศ วรเศยานนท์
รูปกิจกรรม
การประเมิน
1. การระบุเป้าหมายและการระบุคุณค่าต่อกลุ่มเป้าหมาย
2. การระบุจุดยืนทางการตลาดจากการวิเคราะห์ลูกค้า ภาวะการแข่งขันทางการตลาด และการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
3. การตั้งราคาจากการวิเคราะห์แยกแยะประเภทต้นทุน
4. กระบวนการจัดการทรัพยสินทางปัญญา
5. ประเมินการพัฒนาโมเดลธุรกิจ
6. ทัศนคติต่อการวิจัยและพัฒนางานวิจัยเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์
คำอธิบายรายวิชา
การระบุคุณค่าสินค้า
เป็นกระบวนการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางการตลาด เช่น เทคนิกการวิเคราะห์คุณค่าแบบบันได เพื่อระบุคุณค่าของสินค้าที่จะสามารถนำเสนอต่อกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้ นอกจากนั้นการระบุถึงความแตกต่างระหว่างประโยชน์สินค้าที่ผู้วิจัยต้องการนำเสนอ กับคุณค่าที่ลูกค้ามองหาและการส่งมอบคุณค่าแก่ลูกค้าจะเป็นส่วนสำคัญของการเรียนในโมดูลนี้
การแบ่งส่วนตลาด การระบุกลุ่มเป้าหมาย และการวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์
คุณค่าสินค้าที่จะถูกส่งมอบจำเป็นต้องมีการระบุกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน ดังนั้นเครื่องมือการระบุกลุ่มเป้าหมาย อันได้แก่ การแบ่งกลุ่มตลาด การประเมินคุณภาพกลุ่มตลาด และการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มเป้าหมายรอง และกลุ่มที่จะเลือกทิ้ง เป็นประเด็นสำคัญในหัวข้อนี้
นอกเนือจากนั้น การวางตำแหน่งสินค้าหรือองค์กรที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายเป็นกลไกสำคัญในการวางแผน และดำเนินกิจกรรมทางการตลาด ทั้งนี้กระบวนการคิดเรื่องการวิเคราะห์องค์ประกอบด้านที่มาองค์กร องค์ประกอบสินค้า ประโยชน์ คุณค่าสินค้า อุตสาหกรรมที่ดำเนินการ วิสัยทัศน์ พันธกิจองค์กร และแนวทางการพัฒนาสินค้าในอนาคต จะเป็นตัวแปรหลักในการวิเคราะห์และระบุตำแหน่งผลิตภัณฑ์
การเข้าใจลูกค้า (ลูกค้าทั่วไปและองค์กรธุรกิจ)
โมเดลพฤติกรรมผู้บริโภคและการเข้าใจองค์ประกอบด้านความคิดของผู้บริโภคก่อนแสดงออกถึงพฤติกรรมและการตัดสินใจซื้อหาสินค้า รวมถึง การประยุกต์ใช้ความเข้าใจพฤติกรรมลูกค้าโดยการนำความคิดและพฤติกรรมมาจัดวางในเครื่องมือที่ระบุถึงองค์ประกอบการตัดสินใจ (เส้นทางการตัดสินใจลูกค้า) จะสามารถนำมาพิจารณาถึงแนวทางการพัฒนาวกิจกรรมทางการตลาดได้
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การเอาข้อมูลลูกค้ามาใช้ในการวางแผนการตลาด
เป็นการนำข้อมูลลูกค้าจริงที่เก็บจากกลุ่มลูกค้ามาเพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงวิธีการเก็บข้อมูลทางการตลาดรวมถึงการนำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแผนการตลาดและกิจกรรมทางการตลาดสำหรับสินค้าหรือบริการของนักวิจัย
การวิเคราะห์ตลาดและการวิเคราะห์ภาวะการแข่งขัน
เป็นกระบวนการวิเคราะห์ความเหมาะสมของตลาดที่สินค้าหรือบริการของนักวิจัยจะเข้าไปแข่งขันเพื่อให้สามารถประเมินได้ว่าต้องจัดเตรียมทรัพยากรและแนวทางการแข่งขันอย่างไรก่อนการตัดสินใจดำเนินการ การวิเคราะห์คู่แข่งทางตรงที่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการ แรงกดดันจากคู่แข่งรายใหม่และสินค้าทดแทน รวมถึงอำนาจการต่อรองของลูกค้าและคู่ค้าจะเป็นแนวทางการประเมินความเสี่ยงขององค์กรในการนำสินค้าเข้าตลาดด้วย ปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้แต่กระทบต่อสภาพการแข่งขัน อาทิเช่น สภาพเศรษฐกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริโภคของสังคม และเงื่อนไขด้านสิ่งแวดล้อมที่อ่าจส่งผลต่อความต้องการของลูกค้า รวมในการวิเคราะห์ในหัวข้อนี้
การระบุประเมินปัจจัยด้านทรัพยากรและความสามารถของนักวิจัยและองค์กรโดยใช้เครื่องมือทางการจัดการกลยุทธ์และการตลาดจะใช้เพื่อสร้างทักษะการประเมินความสามารถทางการแข่งขัน
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกและทรัพยากรภายในเพื่อระบุโอกาสการแข่งขัน
เป็นการให้ผู้วิจัยได้มีการทดลองวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกที่กระทบต่อขนาดของตลาด ภาวะการแข่งขันในตลาด และต้นทุนในการที่จะเข้าตลาด รวมทั้งวิเคราะห์ความสามารถของผู้วิจัยในด้านทรัพยากรและการใช้ทรัพยากรไปในกิจกรรมทางการตลาด ทั้งนี้กรณีศึกษาจะประกอบเพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทการวิเคราะห์ภายนอกและภายในเพื่อเป็นส่วนของการเรียนและสร้างความเข้าใจ
กลยุทธ์การเติบโตขององค์กร และการออกจากตลาด
การพิจารณาเรื่องของแนวทางการเข้าตลาดและการเติบโตขององค์กรเกี่ยวพันกับการวางแผนเชิงกลยุทธ์องค์กร การวิเคราะห์ ทางเลือกเครื่องมือ แนวทางในการใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์เพื่อระบุกลยุทธ์ การเลือกกลยุทธ์ พัฒนาแนวทางแผนขับเคลื่อนกลยุทธ์ และการพัฒนาองค์กรเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ จะรวมอยู่ในหัวข้อนี้
กรณีศึกษา: การพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยี
เป็นการนำตัวอย่างการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีเพื่อการพาณิชย์มาให้เห็นตัวอย่างด้านวิธีคิด การวางแผน และแนวทางการขับเคลื่อนเพื่อให้ธุรกิจออกมาเป็นรูปธรรม
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การวางกลยุทธ์ธุรกิจเทคโนโลยี
เป็นการนำตัวอย่างของธุรกิจมาถอดแนวคิดและพัฒนาเป็นกรณีศึกษากลยุทธ์ธุรกิจเพื่อให้สามารถเชื่อมแนวคิดเชิงทฤษฎีกับแนวปฎิบัติได้ ทั้งนี้จะทำให้สามารถพัฒนามุมมองเชิงกลยุทธ์ธุรกิจได้
การพัฒนาโมเดลทางธุรกิจ: กิจกรรมหลัก หน้าที่หลัก และทรัพยากรหลักในการขับเคลื่อนองค์กร
ทดลองในการพัฒนาโมเดลธุรกิจของตนเองจากความเข้าใจถึงความหมายของโมเดลธุรกิจ สามารถระบุองค์ประกอบของโมเดลทางธุรกิจ (การส่งมอบคุณค่า กลุ่มลูกค้า การพัฒนาช่องทางการเข้าถึงลูกค้า การจัดการด้านสินค้าและเครือข่ายการพัฒนาสิาค้า รวมถึงการวิเคราะห์ต้นทุนและโอกาสทางรายได้) และการประเมินคุณภาพโมเดลทางธุรกิจ
การใช้ประโยชน์จากความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาและการวางกลยุทธ์
ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาเบื้องต้น การวิเคราะห์และเชื่อมโยงผลงานวิจัยและนวัตกรรมรวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้สร้างขึ้นสำหรับวางแผนและออกแบบแนวทางการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการใช้ความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาในการวางกลยุทธ์ของสินค้า เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
โมเดลรายได้และการตั้งราคาสินค้าหรือบริการ
เข้าใจเศรษฐศาสตร์ราคา ประเภทราคา ความสำคัญของการตั้งราคากับการพัฒนาการตลาดและธุรกิจ รวมถึงการวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุน ความเข้าใจประเภทต้นทุน เพื่อนำมาวิเคราะห์ราคา
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การวิเคราะห์ราคาสินค้าหรือบริการ
พัฒนาโมเดลการตั้งราคาจากการวิเคราะห์และแยกประเภทต้นทุนสินค้า ต้นทุนการได้มาของสินค้า และต้นทุนการดำเนินการ เพื่อวิเคราะห์และตั้งราคาที่สนับสนุนการเติบโตขององค์กรในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงการนำโมเดลมาเลือกประเภทการตั้งราคาเพื่อตอบเป้าหมายทางการตลาด
อบรมเชิงปฎิบัติการ: การพัฒนาแนวคิดทางธุรกิจ
ให้นักวิจัยสามารถนำเครื่องมือด้านโมเดลทางธุรกิจ มาขมวดรวมกับองค์ความรู้ด้านการตลาด การจัดการกลยุทธ์ การจัดการองค์กรเพื่อขับเคลื่อนกลยุทธ์ มาสร้างแนวคิดทางธุรกิจที่เตรียมพร้อมนำไปประเมินความเสี่ยงและประเมินความเป็นไปได้เพื่อตัดสินใจในการลงทุน
การประเมินความเสี่ยงโมเดลธุรกิจ
ระบุประเภทความเสี่ยง การใช้เครื่องมือประเมินระดับความเสี่ยง การวางแนวทางจัดการความเสี่ยงโมเดลทางธุรกิจ รวมทั้งการนำผลการวืเคราะห์ความเสี่ยงมาใช้พัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจในด้านการสร้างโอกาสเพิ่มเติมให้กับนักวิจัยหรือองค์กร
อบรมเชิงปฎิบัติการ: พัฒนาความเข้าใจการเงินกับการพัฒนาธุรกิจด้วยเกม
ทดลองเอาโมเดลธุรกิจตัวอย่างมาพัฒนาความเป็นไปได้ทางการลงทุน ซึ่งจะทำให้ตระหนักและสร้างความเข้าใจด้านการจัดการการเงิน โครงสร้างต้นทุน กรอบรายได้ และการตัดสินใจทางธุรกิจและการตลาดที่จะส่งผลต่อระดับผลตอบแทนในการลงทุน
นำเสนอโมเดลธุรกิจ การกระทบความคิดและการมอบประกาศนียบัตรอบรม
ให้ผู้เรียนได้นำเสนอโมเดลทางธุรกิจของตนเองเพื่อรับแนวทางการปรับปรุงรวมถึงการรับข้อเสนอเพิ่มเติม รวมถึงเป็นเครื่องมือในการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อจะนำเป็นฐานในการสนับสนุนการนำสินค้าเข้าตลาดต่อไป